โรคลำไส้อักเสบในสุนัข
หนึ่งในอาการป่วยของน้องหมา ที่มีการติดต่อและเกิดขึ้นได้บ่อยคือ โรคลำไส้อักเสบในสุนัขซึ่งอาการอักเสบนี้ หากทิ้งไว้นานเกินไปหรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การอักเสบในลำไส้ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และส่งผลต่อความรุนแรงที่แตกต่างกันของแต่ละที่มา น้องหมาลำไส้อักเสบเป็นได้ตั้งแต่วัยแรกเกิด จนถึงวัยชรา วันนี้เราจะมาดูกันว่า โรคลำไส้อักเสบคืออะไร มีที่มาจากไหน สามารถรักษาหรือตรวจดูอาการจากน้องหมาได้ยังไงบ้าง เรารวบรวมข้อมูลต่างๆ มาไว้ให้แล้ว
สุนัขเป็นลําไส้อักเสบรักษายังไง?
วิธีรักษาสุนัขที่เป็นลำไส้อักเสบจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุของอาการ เช่น ถ้าน้องหมามีอาการลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อไวรัส วิธีการรักษาคือการดูแลตามอาการเพื่อให้สุนัขมีร่างกายที่แข็งแรงมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มียาที่รักษาไวรัสโดยตรง แต่โดยทั่วไปแล้ว เมื่อสุนัขเริ่มมีอาการลำไส้อักเสบ ให้แยกสุนัขป่วยออก งดน้ำงดอาหารเพื่อพักลำไส้ สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการต่อเนื่อง 3-5 วัน ควรพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากการปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยสัตวแพทย์จะทำการตรวจรักษา ดังนี้
- ตรวจอุจจาระเพื่อหาปรสิต เลือด และสิ่งผิดปกติอื่น ๆ
- ตรวจเคมีของเลือดเพื่อประเมินอวัยวะภายในและการเผาผลาญของสุนัข
- ตรวจเกลือแร่ของเลือดเพื่อหาความไม่สมดุลในร่างกาย
- การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดเพื่อประเมินจำนวนเม็ดเลือดและหาความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด
- ตรวจปัสสาวะเพื่อหาการติดเชื้อในท่อปัสสาวะ โรคไต และปัญหาอื่น ๆ
- เอกซเรย์อวัยวะภายในเพื่อหาสิ่งแปลกปลอมภายในลำไส้
- อุลตร้าซาวด์เพื่อดูอวัยวะภายในอย่างชัดเจนมากขึ้น
- ส่องกล้องเพื่อดูลำไส้เล็ก
หากสัตวแพทย์สามารถหาสาเหตุของอาการลำไส้อักเสบได้ จะมีการรักษาแบบพิเศษให้ เช่น หากมีปรสิตก็จะมีการถ่ายพยาธิ หากการติดเชื้อแบคทีเรียก็จะใช้ยาปฏิชีวนะรักษา โดยจะมีการรักษาแบบประคับประคองและจะมีการให้น้ำเกลือและเพิ่มความสมดุลของเกลือแร่ รวมไปถึงจะเป็นการให้ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้อาเจียน และยาลดกรดตามที่จำเป็น
สุนัขจะสามารถหายจากอาการลำไส้อักเสบได้ภายในไม่กี่วันด้วยการรักษาที่ถูกต้อง แต่สำหรับเคสที่รุนแรงก็อาจจะใช้เวลารักษานานขึ้น อย่างไรก็ดี หากสุนัขมีอาการลำไส้อักเสบจากพาร์โวไวรัส อาการอาจรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ หากมีอาการผิดปกติจึงควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์
5 สาเหตุของลำไส้อักเสบในสุนัข เกิดจากอะไร?
อาการลำไส้อักเสบในสุนัขที่พบทั่วไป มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อทั้งจาก แบคทีเรีย ปรสิต ไวรัส เชื้อโรคต่างๆ จะเกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัขที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ในบางกรณีอาจส่งผลถึงการทำงานของไตและระบบขับถ่ายของเสียของสุนัขด้วย โดยแบ่งย่อยตามต้นเหตุการณ์เกิดของโรคดังนี้
1. น้องหมาลำไส้อักเสบจากเชื้อพาร์โวไวรัส
พาร์โวไวรัสเป็นไวรัสชนิดร้ายแรงที่มีผลต่อระบบย่อยอาหาร ที่ทำลายลำไส้และทำให้เกิดแผลอักเสบเรื้อรัง ส่วนมากเชื้อ พาร์โวไวรัส (Canine Parvovirus) จะสามารถเกิดขึ้นได้กับสุนัขในทุกช่วงวัย แต่จะเกิดขึ้นบ่อยกับสุนัขอายุ 4 – 6 เดือน เป็นพิเศษเนื่องจากยังได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือยังไม่ได้รับวัคซีน โดยอาจติดจากสุนัขตัวอื่น หรือติดจากสิ่งของที่มีเชื้อก็ได้ จะมีอาการถ่ายเป็นเลือด อาเจียน มีไข้ อ่อนเพลีย เป็นต้น ซึ่งลูกสุนัขที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาไวรัสชนิดได้โดยตรง จะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ดูแลไม่ให้ขาดน้ำและสารอาหาร สำหรับการป้องกันมีเพียงการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึ่งจะทำได้หลังจากสุนัขมีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
2. สุนัขลำไส้อักเสบจากเชื้อโคโรนาไวรัส
เชื้อโคโรนาไวรัสในสุนัข คือเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นกับสุนัข โดยการติดเชื้อในลำไส้แบบเฉียบพลัน เป็นเชื้อที่มีการแบ่งตัวเพื่อทำลายผนังลำไส้ ทำลายลำไส้บางส่วนให้ฝ่อและหลุดลอกออกมาได้ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับพาร์โวไวรัส เพียงแต่จะไม่รุนแรงเท่า และสามารถรักษาให้หายได้หากพาไปพบสัตวแพทย์ได้ทันทีเวลา
3. ลำไส้อักเสบจากการท้องผูกของสุนัข
อาการท้องผูกในสุนัขเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ส่วนมากไม่มีอาการร้ายแรง หากได้รับการปรับชนิดอาหารให้ย่อยง่าย เพิ่มการดื่มน้ำ เลี่ยงอาหารที่อันตราย ก็สามารถรักษาได้ แต่การท้องผูกเรื้อรังทำให้เกิดสิ่งปฏิกูลตกค้างในลำไส้ ส่งผลให้เกิดการหมักหมม สะสมในระยะเวลายาวนาน ซึ่งทำให้ลำไส้ได้รับผลกระทบจากการตกค้างของอุจจาระเหล่านี้จนเกิดอาการอักเสบได้
4. ลำไส้อักเสบในน้องหมาจากโรคกระเพาะ
สุนัขเองก็สามารถเป็นโรคกระเพาะเช่นเดียวกับคน ซึ่งสาเหตุของอาการนั้นเกิดขึ้นได้หลากหลายมาก ทั้งอาการที่กิน สิ่งของที่กลืนเข้าไปแล้วระคายเคือง แบคทีเรียหรือปรสิตในกระเพาะ ซึ่งการมีกรดสะสมในกระเพาะอาหารของสุนัข จะทำให้เกิดบาดแผลและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การอักเสบต่างๆ ของกระเพาะอาหารและลำไส้ได้เช่นกัน
5. ลำไส้อักเสบจากโรคมะเร็งในระบบย่อยอาหารของน้องหมา
แม้ว่าการตรวจพบเนื้องอกในลำไส้หรือช่องท้องจะมีโอกาสไม่ถึง 10% ในสุนัข แต่ในบางกรณีก็เกิดขึ้นได้ การมีเนื้องอกมะเร็งในระบบย่อยอาหาร ก็นับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการอักเสบของลำไส้ได้ด้วย เนื่องจากเนื้องอกที่งอกขึ้นมานั้นส่งผลกระทบต่อการย่อยอาหารทั้งหมด โดยความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณของเนื้องอกที่มี
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด ลำไส้อักเสบในสุนัข
จากที่กล่าวถึงสาเหตุที่อาจทำให้สุนัขเกิดอาการลำไส้แล้วนั้น สิ่งที่เจ้าของน้องหมาควรทราบด้วยเช่นกันคือปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค ซึ่งสุนัขแต่ละชนิด ช่วงอายุและสายพันธุ์ มีระบบการทำงานของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการป่วย มีดังนี้
1. เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
เชื้อไวรัสเป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ ทั้งพาร์โวไวรัส, โคโรนาไวรัส หรือ โรต้าไวรัส ที่มีความรุนแรงและสามารถแพร่กระจายได้ด้วย ไวรัสเหล่านี้จะทำหน้าที่โดยตรงในการทำลายเนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและมีแผลที่กระเพาะ ทำให้เกิดการอักเสบได้และยังไม่มียาที่รักษาอาการโดยตรง
2. แบคทีเรีย ปรสิต และ พยาธิ
สิ่งแวดล้อมที่น้องหมาอาศัยอยู่นั้น เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญที่เป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อโรคและบรรดาแบคทีเรียต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มปรสิต ที่แฝงตัวในอาหาร พื้นดินต่างๆ หากสุนัขได้เผลอกินเข้าไป ปรสิตจะฝังตัวในลำไส้และออกไข่ วนเวียนไปแบบนี้ ก่อให้เกิดบาดแผลและอาการอักเสบ แม้ว่าจะไม่เป็นพาหะติดต่อกันแต่ก็อันตรายในระยะยาวได้
พยาธิในสุนัขสามารถป้องกันได้ โดยการถ่ายพยาธิและถ่ายวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งที่สำคัญคือต้องดูแลความสะอาดของพื้นที่อยู่อาศัยของน้องหมาให้ดีเพื่อป้องกันพยาธิ
3. ความผิดปกติของอวัยวะภายใน
สุนัขบางตัวเกิดมาพร้อมความผิดปกติของระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร โดยหนึ่งในอาการนั้นคือ โรคกระเพาะบิดในสุนัข ซึ่งส่งผลต่อการย่อยอาหารทั้งระบบและทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ได้ด้วย นอกจากนี้การที่ตับ ไตหรือต่อมหมวกไต ทำงานไม่เต็มที่ ก็ส่งผลให้การย่อยอาหาร การขับถ่ายของเสียนั้นทำงานได้น้อยลง เกิดปัญหาต่อสุขภาพ
โรคกระเพาะบิดในสุนัขถือเป็นโรคอันตรายที่ต้องให้การรักษาอย่างเฉียบพลัน สุนัขอาจมีอาการกระเพาะบิดหมุนจนเสียชีวิตได้ เจ้าของจึงควรทำความเข้าใจกับอาการนี้เพื่อพบสัตวแพทย์ให้ทันท่วงที
4. การกินอาหารเยอะเกินไปหรืออาหารไม่มีคุณภาพ
บางครั้งการปล่อยปละละเลย เรื่องความสะอาดของจานข้าว หรือ การให้กินอาหารที่ไม่เหมาะกับระบบย่อยอาหารของสุนัขก็เป็นปัญหากับการทำงานของลำไส้เช่นกัน อาหารที่มนุษย์กินทั่วไปนั้นจะถือว่ามีรสชาติที่จัดเกินไปและมีสารอาหารส่วนเกินทั้งไขมัน โซเดียมที่สูงมากสำหรับสุนัข การทานอาหารไม่มีคุณภาพ อาจทำให้อาหารไม่ย่อยเกิดการอักเสบและเป็นผลเสียต่อระบบย่อยอาหารของสุนัข
หมาห้ามกินอะไร? มาดู 27 อาหารอันตรายที่คนรักสุนัขควรระวัง ห้ามให้น้องหมาโดยเด็ดขาด และอย่าลืมเก็บให้พ้นระยะที่น้องหมาจะมาคาบไปกินเองได้
เลือกอาหารที่มีคุณภาพให้น้องหมาของคุณ อย่าง JOMO อาหารสุนัขเกรดพรีเมียมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณภาพ อย่างโปรตีนจากเนื้อแกะออสเตรเลีย และพรีไบโอติกส์จากธรรมชาติที่จะช่วยดูแลลำไส้ของน้องหมาให้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ กำจัดแบคทีเรียไม่ดีในลำไส้ ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ป้องกันอาการท้องเสีย สั่งซื้อวันนี้ ส่งฟรีทั่วไทย
น้องหมาลำไส้อักเสบ อาการเป็นอย่างไร?
เมื่อสุนัขเริ่มมีอาการลำไส้อักเสบมักจะมีอาการผิดปกติกับร่างกายและการแสดงออกที่แปลกไปจากปกติ เพราะน้องหมาไม่สามารถบอกเราได้ว่าพวกเขาเจ็บป่วยที่ส่วนไหน สัญญาณที่แสดงทางร่างกายจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของต้องหมั่นสังเกตให้ดี ซึ่งมีอาการทั่วไปดังนี้
- มีน้ำลายไหลเยอะเกิน
- ท้องเสีย ถ่ายเหลวติดต่อกัน
- ท้องผูก ขับถ่ายลำบากติดต่อกัน
- อาเจียน หรือ สำรอกอาหารบ่อยครั้ง
- มีอาหารเซื่องซึม ขาดน้ำ
- ความอยากอาหารลดลง ทานอาหารได้น้อย
- ขับถ่ายมีเมือก และ เลือดปน
ซึ่งทุกอาการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าสุนัขของคุณกำลังเจ็บป่วยไม่สบายอยู่ โดยเฉพาะอาการอาเจียน สำรอกอาหาร จะเกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัขที่มีอาการลำไส้อักเสบ เนื่องจากอาหารที่กินเข้าไปไม่สามารถย่อยได้ตามปกตินั่นเอง
อาการป่วยของสุนัขที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารมีได้หลากหลายอาการ ลองเช็กว่าสุนัขของคุณอาจป่วยด้วยโรคอะไรได้บ้าง
แนวทางการดูแลสุนัขลำไส้อักเสบ
หลังจากพบแพทย์เพื่อทำการรักษาแล้ว เจ้าของต้องดูแลน้องหมาและป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการป่วยได้ดังนี้
1. แยกสุนัขที่มีอาการป่วยออกมาก่อน
หากการเจ็บป่วยเกิดขึ้นจากไวรัส จะมีความเสี่ยงที่สามารถแพร่กระจายติดต่อกับสุนัขตัวอื่นๆ ได้ หากพบว่าสุนัขมีอาการป่วย ซึม ควรรีบแยกออกมาจากการเลี้ยงรวมกันก่อน เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการเจ็บป่วยและทำการรักษาให้หายดี
2. ฉีดวัคซีนสม่ำเสมอตามรอบ
อาการลำไส้อักเสบจากไวรัส เป็นหนึ่งในโรคที่ไม่มียารักษาโดยตรง วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนเป็นประจำ โดยทั่วไปสุนัขจะเริ่มรับวัคซีน เมื่ออายุ 6 สัปดาห์ และ กระตุ้นอีก ใน 1 เดือน จากนั้นจะเป็นการฉีดวัคซีนประจำปีตามปกติ ซึ่งวัคซีนที่ฉีดนั้นจะปกป้องสุนัขจากโรคอันตราย 5 ชนิด คือ โรคไข้หัด โรคลำไส้อักเสบ โรคตับอักเสบ เชื้อเลปโตสไปโรซิส และ โรคหลอดลมอักเสบ
3. ดูแลความสะอาด ภาชนะและที่นอน
การเปลี่ยนและล้างทำความสะอาดถาดน้ำ ถาดอาหารของสุนัขบ่อยๆ จะเป็นการป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและ เชื้อโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ในส่วนของที่นอน สามารถพ่นน้ำผสมน้ำยาทำความสะอาดเพื่อให้ที่อยู่ของสุนัขมีสุขอนามัยที่ดี
4. ปรับอาหารให้เหมาะสมกับสุนัข
หากเป็นช่วงพักฟื้นหลังจากทำการรักษา การให้น้ำเกลือหรืออาหารน้ำเป็นสิ่งที่เหมาะกับสุนัขที่เพิ่งหายป่วย สำหรับสุนัขทั่วไป การให้อาหารสูตรที่ปรุงเฉพาะตามขนาดตัว ตามสายพันธุ์ก็จะช่วยให้น้องหมากินง่าย ถ่ายคล่องได้มากขึ้น ป้องกันการอุดตันและปัญหาในระบบการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
ที่ผ่านมาคุณให้อาหารสุนัขอย่างถูกต้องหรือไม่? สุนัขแต่ละช่วงอายุมีความต้องการพลังงานและการบำรุงที่แตกต่างออกไป ควรให้อาหารอย่างเหมาะสมเพื่อให้น้องหมาแข็งแรงสมวัย
สรุปการดูแลรักษาโรคลำไส้อักเสบในสุนัข
โรคลำไส้อักเสบเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในสุนัข ไม่จำกัดช่วงอายุและสายพันธุ์ โดยอาจเกิดได้จากเชื้อพาร์โวไวรัส เชื้อโคโรน่าไวรัส ท้องผูก โรคกระเพาะ และโรคมะเร็ง ส่วนในฝั่งของปัจจัยที่ทำให้เกิดก็ทั้งการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ปรสิต พยาธิ ความผิดปกติของอวัยวะภายใน และการกินอาหารเยอะเกินไปหรือไม่มีคุณภาพ ซึ่งความรุนแรงของโรคนั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นและการได้รับการรักษา หากพาไปพบสัตวแพทย์ช้าไปก็เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ อาการของโรคจะไม่ได้บ่งบอกชัดเจน ให้หมั่นสังเกตการณ์อาเจียนและสำรอกอาหารของสุนัข หากมีอาการบ่อยและต่อเนื่องควรรีบพาสุนัขไปตรวจกับสัตวแพทย์ทันที ซึ่งสัตวแพทย์จะมีการตรวจวินิจฉัยทั้งการเจาะเลือด เอกซเรย์ และตรวจอุจจาระ การดูแลรักษาโรคลำไส้อักเสบคือการแยกสุนัขที่มีอาการป่วยออกจากตัวที่สุขภาพดี หมั่นฉีดวัคซีนเป็นประจำ ดูแลความสะอาดของภาชนะและพื้นที่อยู่อาศัย รวมไปถึงปรับอาหารให้เหมาะสมกับสุนัข
การดูแลความสะอาดและการเลือกอาหารให้เหมาะกับสุนัขก็ช่วยป้องกัน ดูแลให้สุนัขมีร่างกายที่แข็งแรงได้อีกด้วย JOMO Petfood จึงได้ออกแบบและคิดค้นสูตรอาหารที่เหมาะกับสุนัข โดยมีโปรตีนสูงถึง 23% โดยใช้โปรตีนหลักจากเนื้อแกะออสเตรเลีย และยังมี แมนแนนโอลิโกแซคคาไรด์ (MOS) ซึ่งเป็นสารพรีไบโอติกส์จากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในระบบทางเดินอาหาร กำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีในลำไส้อย่างเป็นธรรมชาติ มีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนัก และรักษาอาการท้องเสีย ให้น้องหมาสุขภาพดีจากภายใน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคลำไส้อักเสบให้น้องหมาแสนรักของเรา คลิกสั่งซื้ออาหารสุนัขเกรดพรีเมียม JOMO ได้แล้ววันนี้ ส่งฟรีทั่วประเทศไทย
โรคลำไส้อักเสบในสุนัข เป็นโรคติดต่อไหม?
โรคลำไส้อักเสบมีทั้งชนิดที่เป็นโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ขึ้นอยู่กับที่มาของอาการ หากเป็นอาการป่วยจากไวรัส ก็สามารถติดต่อแพร่กระจายไปยังสุนัขที่อยู่รอบข้างได้ หากเป็นการป่วยจากการทำงานผิดปกติของระบบร่างกายจะไม่แพร่กระจาย แต่ต้องได้รับการดูแลใกล้ชิด
โรคลำไส้อักเสบในสุนัข เกิดบ่อยไหม?
ความอันตรายของโรคนี้จะเกิดในสุนัขแรกเกิดจนถึง 6 สัปดาห์ เนื่องจากร่างกายยังไม่แข็งแรงและเสี่ยงต่อการติดไวรัส ลูกสุนัขจำนวนไม่น้อยที่ป่วยจากโรคนี้และเสียชีวิตในช่วงแรกเกิด ดังนั้นต้องหมั่นรักษาความสะอาดและอนามัยของสุนัขเพื่อป้องกันไวรัสและการเจ็บป่วยอื่นๆ
วิธีดูแลสุนัขลำไส้อักเสบด้วยตัวเองทำยังไง?
สามารถดูแลสุนัขให้ปลอดภัยจากโรคลำไส้อักเสบได้ด้วยการแยกสุนัขที่มีอาการป่วยออกจากตัวอื่น ดูแลความสะอาด ภาชนะและที่นอนอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงปรับอาหารให้เหมาะสมกับสุนัข