สุนัขเป็นประจำเดือนกี่วัน? พร้อมวิธีดูแลสุนัขเป็นประจำเดือน

หลังจากที่เราได้รู้เกี่ยวกับอาการของสุนัขตั้งท้อง กันไปแล้ว แต่ก่อนที่จะเริ่มการตั้งท้อง มีหลายคนสงสัยว่า สุนัขเป็นประจำเดือนได้หรือไม่? แล้วหากเป็น สุนัขจะเป็นประจำเดือนกี่วัน? วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ให้กับเจ้าของได้ดูแลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับน้องหมาว่าการมีประจำเดือนของสุนัขเกิดขึ้นได้อย่าง มีจุดไหนที่ต้องสังเกตบ้าง เพื่อให้เจ้าของสามารถดูแลน้องได้ถูกวิธี เตรียมพร้อมสำหรับช่วงสุนัขเป็นประจำเดือน

เลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยค่ะ :)

สุนัขเป็นประจำเดือนได้หรือไม่?

สุนัขสามารถเป็นประจำเดือนได้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โดยการเป็นประจำเดือนของสุนัขเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความพร้อมในการผสมพันธุ์และตั้งท้อง การเป็นประจำเดือนของสุนัขเกิดขึ้นจากการขยายตัวของหลอดเลือด และการหลุดลอกของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มาผสมกับเยื่อเมือกที่อวัยวะเพศ ทำให้เห็นเป็นน้ำสีชมพู-แดง เป็นเมือกอยู่ที่ช่องคลอดตลอดช่วงที่เป็นประจำเดือน

สุนัขเป็นประจำเดือนกี่วัน?

โดยทั่วไป สุนัขจะมีประจำเดือน 7 -14 วันติดต่อกัน ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไป  โดยจะเริ่มเป็นหลังจากที่สุนัขเพศเมียเข้าสู่ช่วงพร้อมผสมพันธุ์หรือมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป

เมื่อสุนัขเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว จะมีอาการในช่วงแรกเริ่มของการเป็นสัตว์ ที่เรียกชื่อทางการว่า Proestrus หรือ ช่วงก่อนเป็นสัตว์ สำหรับเจ้าของมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มดูแลน้องหมาอาจตกใจ ที่พบว่าอวัยวะเพศของสุนัขเพศเมีย บวมแดง ขยายใหญ่ขึ้นและยังมีเมือกเลือดสีแดงปนออกมา อาการเหล่านี้เองที่มักจะถูกเรียกว่า “สุนัขเป็นประจำเดือน” 

การเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมนนี้เองทำให้เม็ดเลือดแดงที่ช่องคลอดสุนัข หลุดออกมาพร้อมกับเมือกใสที่ช่องคลอด ทำให้มีลักษณะดูคล้ายว่าสุนัขเป็นประจำเดือน

สุนัขเป็นประจำเดือนบ่อยแค่ไหน?

จริงๆ แล้ว การเรียกประจำเดือนสุนัข เป็นคำเปรียบเทียบถึงอาการของสุนัขและการมีเมือกใสสีชมพู ที่แสดงถึงความพร้อมในการผสมพันธุ์ แต่หากนับช่วงเวลากันตามตรงแล้ว สุนัขจะมีอาการเหล่านี้เป็นประจำ 4 – 6 เดือน ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นบ่อยกว่าในสุนัขพันธุ์เล็กเพราะสามารถผสมพันธุ์ได้บ่อยกว่านั่นเอง

สุนัขเป็นประจำเดือน เกิดจากอะไร?

การเป็นประจำเดือนของสุนัข เกิดขึ้นจากการขยายตัวของหลอดเลือดที่บริเวณอวัยวะเพศของสุนัขขยายตัว ส่งผลให้มีเม็ดเลือดแดงบางส่วนหลุดลอก ปะปนมากับน้ำหล่อเลี้ยงบริเวณอวัยวะเพศของสุนัข ซึ่งจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นในช่วงที่สุนัขติดสัด หรือ เป็นฮีท  (Dog in hear) ไม่ได้มีอันตรายต่อสุขภาพ โดยทั่วไปประจำเดือนของสุนัขจะเป็นสีแดงจางๆ หรืออาจมีเม็ดเลือดติดออกมาบ้าง ลักษณะคล้ายกับน้ำล้างเนื้อสัตว์ มีระยะเวลาของอาการประมาณ 7 – 14 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์สุนัข

จากการเกิดประจำเดือนของสุนัข เรามาดูรายละเอียดกันว่าในรอบของการเกิดประจำเดือนของสุนัข มีรูปแบบอย่างไร และ สุนัขจะมีลักษณะอย่างไรในแต่ละช่วง

สุนัขมีประจำเดือน มีอาการอย่างไรบ้าง? 

เมื่อเริ่มมีประจำเดือน สุนัขจะเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอันเกิดจากการปรับเปลี่ยนฮอร์โมนต่างๆ  และในส่วนพฤติกรรมที่แสดงออกก็จะแตกต่างออกไป ที่สังเกตได้มีดังนี้ 

มักจะเดินเข้าหาสุนัขตัวผู้มากขึ้น มีการเกาะแกะ เลียบริเวณอวัยวะเพศบ่อยๆ รวมไปถึงมักจะหดหางเข้ากับลำตัว แต่ในบางรายที่มีอาการเซื่องซึม ให้ตรวจสอบสีของประจำเดือนและขนาดมดลูก เพราะอาจเกิดพยาธิหรือมีอาการมดลูกอักเสบได้

1. มีการหลั่งฟีโรโมนให้สุนัขตัวผู้

สุนัขตัวเมียมักจะเดินเข้าหาสุนัขตัวผู้ เดินผ่านและคลอเคลียด้วย แต่จะยังไม่ได้ยินยอมให้มีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น เมื่อสุนัขตัวผู้เริ่มขึ้นคร่อม ตัวเมียจะขัดขืนและเดินหนีมากกว่า แต่ก็มักจะเดินเข้าใกล้เพื่อให้ฟีโรโมโมนในร่างกายหลังออกมาคล้ายการโปรยเสน่ห์ให้ตัวผู้นั่นเอง 

2. มีการเลียและเกาอวัยวะเพศบ่อยขึ้น

ในช่วงเป็นประจำเดือน สุนัขตัวเมียจะเกิดความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีการขยายขนาดของอวัยวะเพศ ทำให้เกิดความอึดอัดและจะไม่คุ้นชินโดยเฉพาะกับสุนัขที่เป็นประจำเดือนครั้งแรก สุนัขจะเลียและมีการเกาบริเวณอวัยวะเพศบ่อยกว่าปกติ

3. มีอาการเซื่องซึม หรือ ชอบเกาะแกะมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายทำให้สุนัขเกิดความไม่คุ้นชิน ไม่สบายตัว ในสุนัขบางตัวจะมีอาการเซื่องซึมลงเล็กน้อย และจะชอบเข้ามาเกาะแข้งเกาะขาเจ้าของมากยิ่งขึ้น คล้ายกับการอาการขี้อ้อนมากเป็นพิเศษในช่วงเป็นประจำเดือน 

4. กินจุกจิกและดื่มน้ำบ่อย

การขยายตัวของหลอดเลือดและการมีเมือกหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศ ทำให้สุนัขต้องดื่มน้ำมากขึ้น พร้อมกับพฤติกรรมที่มีอาการกระสับกระส่าย ทำให้สุนัขในช่วงเป็นประจำเดือนจะกินจุกจิกเพิ่มขึ้นอีกด้วย

เลือก JOMO อาหารสุนัขเกรดพรีเมียมให้ดูแลสุนัขของคุณทั้งยามแข็งแรงและยามป่วย เพราะมีถึง 5 คุณประโยชน์ในถุงเดียว มีส่วนผสมจากธรรมชาติช่วยบำรุงจากภายใน ทำให้น้องหมาสุขภาพแข็งแรง ร่าเริง คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง สมวัย ด้วยแหล่งโปรตีนหลักมาจากเนื้อแกะออสเตรเลีย โปรตีนสูงถึง 23% พิเศษ!! คลิกสั่งซื้อวันนี้ ส่งฟรีทั่วประเทศไทย

สุนัข คอร์กี้ นั่งมอง มีความสุข 
Photo by fatty corgi on Unsplash

ระยะของการเป็นประจำเดือนของสุนัขช่วงต่างๆ

เมื่อสุนัขเริ่มเป็นสัดจะมีวงจรทั่วไปทั้งหมด 4 ช่วง หลังจากที่สุนัขเพศเมียมีอายุครบ 6 เดือน สุนัขจะเข้าสู่รอบของการเป็นสัด และนั่นหมายถึงการที่สุนัขเริ่มมีประจำเดือนเกิดขึ้นนั่นเอง

1. ช่วงก่อนเป็นสัด หรือ Proestrus

หลังจากสุนัขตัวเมียมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป จะเริ่มมีการเป็นสัตว์ โดยในช่วงแรกก่อนเริ่มเป็นสัดนั้น จะมีการขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณอวัยวะเพศ พร้อมกับมีเมือกใสไหลอยู่ตลอดเวลา สุนัขเพศเมียในช่วงนี้จะหลั่งฟีโรโมน เพื่อเริ่มดึงดูดสุนัขตัวผู้เข้ามาหา ระยะนี้จะมีการหลุดลอกของเม็ดเลือดแดงออกมาปะปนที่อวัยวะเพศ ซึ่งทำให้เกิดอาการที่เรียกกันว่าสุนัขเป็นประจำเดือน อาการเหล่านี้จะคงอยู่ประมาณ 7-14 วัน จะเกิดขึ้นทุกรอบที่เป็นสัด ระหว่างทุกๆ 6 เดือน หรือ 4 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิดของสุนัข 

สุนัขจะเลียอวัยวะเพศบ่อยกว่าปกติ ดื่มน้ำเยอะขึ้นและปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย แต่จะไม่ใช่ช่วงที่พร้อมให้สุนัขตัวผู้เข้ามาผสมพันธุ์ จะมีการหนีและหลบเลี่ยงการขึ้นคร่อมผสมพันธุ์อยู่

2. ช่วงเป็นสัด หรือ Estrus

ช่วงเป็นสัดเป็นช่วงที่เหมาะที่สุดกับการผสมพันธุ์ของสุนัข โดยทั่วไปจะมีระยะการเป็นสัตว์เฉลี่ย 9 – 14 วัน ในช่วงนี้สุนัขเพศเมียจะมีความพร้อมให้ตัวผู้เข้ามาผสมพันธุ์ได้แล้ว โดยสังเกตได้จากพฤติกรรม ที่จะเดินเข้าหาตัวผู้ นำตัวไปถูไถใกล้ๆ หรือการหันหลังให้ตัวผู้มากขึ้น ในระยะนี้สุนัขตัวเมียจะมีการตกไข่ และ การขยายตัวของหลอดเลือดจะลดลง ทำให้เมือกที่เคยมีสีแดงนั้นจะมีสีจางลง หากสุนัขได้รับการผสมพันธุ์ในช่วงเวลานี้ จะมีโอกาสตั้งท้องสูงมาก ซึ่งสำหรับเจ้าของที่ยังไม่พร้อมจะเลี้ยงเจ้าตัวน้อย จำเป็นต้องแยกสุนัขตัวเมียออกหรือขังไว้ชั่วคราวเพื่อให้ผ่านช่วงเป็นสัดนี้ไปก่อน

3. ช่วงหลังเป็นสัด หรือ Diestrus

หลังพ้นจากช่วงเป็นสัดแล้ว สุนัขเพศเมียจะอยู่ในช่วงหลังเป็นสัดไปอีก 2 เดือน ในระหว่างนี้ ขนาดอวัยวะเพศของตัวเมียจะหดลงจนกลับสู่ขนาดปกติ จะไม่มีพฤติกรรมในการยินยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อีก ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนของสุนัขจะลดลง และ ฮอร์โมนเทสโทนเตอโรนเพิ่มมากขึ้น สุนัขจะเริ่มตั้งท้องในช่วงนี้ ซึ่งในระหว่างนี้เจ้าของต้องดูแลสุนัขมากเป็นพิเศษรวมไปถึงตอนตั้งครรภ์ อาจมีการปรับเปลี่ยนชนิดอาหาร เน้นอาหารที่ให้โปรตีนมากขึ้นเพื่อความแข็งแรงของร่างกายสุนัขและเจ้าตัวน้อยซึ่ง JOMO อาหารสุนัขเกรดพรีเมี่ยม มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบสูงถึง 23% ก็เหมาะเป็นอาหารสำหรับแม่สุนัขเริ่มตั้งท้องด้วยเช่นกัน 

นอกเหนือจากการตั้งท้องปกติแล้ว ยังมีอีกกรณีที่พบได้เช่นกัน คือ ภาวะท้องเทียม (pseudo pregnancy) สุนัขตัวเมียจะมีอาการเหมือนตั้งท้องทุกประการ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน แต่จะไม่มีลูกสุนัขในท้อง เมื่อผ่านไปจะกลับสู่สภาวะปกติได้เอง

4. ช่วงพัก หรือ Anestrus

หลังจากเสร็จสิ้นช่วงผสมพันธุ์แล้ว สุนัขจะอยู่ในช่วงพักมดลูก อวัยวะเพศกลับสู่ขนาดปกติ ไม่มีเมือกใสไหลออกมาอีก ระยะพักนี้จะกินเวลา 3 – 4 เดือนขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ โดยสุนัขที่สายพันธุ์ใหญ่จะมีระยะพักที่นานกว่า ระยะพักจะกินเวลานานไปจนถึงรอบการติดสัดในครั้งต่อไป 

ทั้ง 4 ช่วงเวลาของการตั้งท้องที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติของสุนัข ซึ่งหมายถึงการที่สุนัขมีประจำเดือนจะเกิดขึ้นได้ 2 – 3 ครั้งต่อปี ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ เจ้าของสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงและอาการของสุนัขได้หากสุนัขพร้อมที่จะผสมพันธุ์ และป้องกันได้หากกรณีที่ยังไม่พร้อมเลี้ยงเจ้าตัวเล็กที่จะตามมา 

การดูแลสุนัขเป็นประจำเดือน 

ในช่วงที่สุนัขเป็นประจำเดือน นับเป็นช่วงที่สุนัขเริ่มเข้าสู่ช่วงเป็นสัด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและการขยายตัวของหลอดเลือดต่างๆ ทำให้สุนัขต้องได้รับการดูแลมากขึ้น

เพิ่มความสะอาดของที่อยู่อาศัย

ในช่วงแรกของการเป็นสัด สุนัขจะเริ่มมีเมือกใสไหลที่อวัยวะเพศ รวมทั้งขนาดของอวัยวะเพศที่ขยายตัวมากขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการหมักหมมของเชื้อโรคและแบคทีเรียต่างๆ เจ้าของอาจหาแพมเพิสสุนัข มาใส่ให้กับน้องหมาไว้ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกต่างๆ ที่อาจเข้ามาในช่วงที่เมือกใสไหลอยู่ตลอดเวลา 

เพิ่มความอบอุ่น ด้วยผ้าห่มหรือตุ๊กตา

ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายสุนัขส่งผลให้พฤติกรรมบางอย่างของสุนัขเปลี่ยนแปลงไป ในสุนัขที่เพิ่งเข้าสู่ช่วงเป็นสัด สุนัขจะมีความกังวล ทำตัวไม่ถูกการมีผ้าห่มหรือตุ๊กตาเพิ่มเข้ามาในที่นอน จะช่วยให้สุนัขลดความกังวลและรู้สึกอบอุ่นมากขึ้น 

เพิ่มการให้น้ำ

สุนัขในช่วงนี้จะสูญเสียน้ำในร่างกายมากขึ้น เพราะการทำงานของร่างกาย การขับเมือกและการขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้สุนัขปัสสาวะบ่อยขึ้น จึงควรเพิ่มการให้น้ำหรือเปลี่ยนถาดน้ำบ่อยๆ เพื่อให้สุนัขไม่เกิดอาการอ่อนล้า อ่อนเพลียจากสภาวะขาดน้ำ

ความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพของสุนัขเป็นประจำเดือน 

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของสุนัขในช่วงเป็นประจำเดือนจะคงอยู่ 7-14 วัน แต่ในบางกรณีที่อาการบวมแดงยังคงอยู่ยาวนานกว่านั้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของสุนัขได้เช่นกัน 

อาการมดลูกอักเสบ

ในบางกรณีของการเริ่มเป็นสัด สุนัขจะมี อาการมดลูกอักเสบ (Vaginitis) จากการติดเชื้อ ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่สะอาด หรือ แบคทีเรียต่างๆ ทำให้มดลูกของสุนัขบวมและแดงขึ้น ซึ่งคล้ายกับช่วงเริ่มมีประจำเดือน ความแตกต่างคืออาการบวมแดงเหล่านี้ จะคงอยู่ยาวนาน สุนัขจะเซื่องซึมและมักจะเลียอวัยวะเพศตัวเองอยู่ตลอด ซึ่งหากเกิดการอักเสบดังกล่าว ควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจหาที่มาของอาการอักเสบและรักษาได้อย่างถูกวิธี

ปัญหาผนังมดลูกหนาและความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง

ในช่วงที่เป็นประจำเดือน เจ้าของต้องสังเกตสีของน้ำคัดหลั่งที่ออกมาจากอวัยวะเพศของสุนัข ซึ่งหากน้ำที่ออกมามีสีแดงเข้มผิดปกติต่อเนื่องกัน อาจเกิดจากภาวะผนังมดลูกหนา (Vaginal Hyperplacia) ซึ่งควรหายไปหลังจากหมดช่วงประจำเดือน แต่หากยังมีอาการอยู่ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของการติดเชื้อและการขยายตัวเป็นมะเร็งมดลูกในสุนัขได้เช่นกัน 

สุนัขเป็นประจำเดือนและการทำหมัน

การทำหมันสุนัขสามารถทำได้และจะทำให้สุนัขไม่มีอาการเป็นประจำเดือนเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของสุขภาพสำหรับสุนัขที่อายุมาก เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกด้วย ทว่ามีข้อสงสัยและถกเถียงเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือนและการทำหมันด้วยเช่นกัน 

สุนัขเป็นประจำเดือนฉีดยาคุมได้ไหม

การทำหมันด้วยการฉีดยาคุม โดยทั่วไปแล้วจะไม่เป็นนี่นิยมหรือแนะนำนัก เนื่องจากการฉีดยาคุมไม่ได้เป็นการทำหมันโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนคุมกำเนิดสุนัขที่บ่งชี้ถึงผลข้างเคียงของการฉีดยาว่าอาจก่อให้เกิดเนื้องอก หรือ การติดเชื้ออื่นๆ ตามมาได้

สุนัขเป็นประจำเดือนทำหมันได้ไหม

ในช่วงการเป็นประจำเดือน สุนัขไม่ควรทำหมันหรือฉีดยาคุมกำเนิด เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายมีการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ อาจเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงหรือการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การผ่าตัดทำหมันในช่วงที่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศยังเสี่ยงทำให้เกิดอาการเสียเลือดมากในสุนัข และเป็นอันตรายอีกด้วย

สรุปอาการสุนัขเป็นประจำเดือน

เมื่อสุนัขมีอายุได้ 6 เดือนขึ้นไป จะเริ่มเข้าสู่ช่วงเป็นสัด อาการสุนัขเป็นประจำเดือนคืออาการของระยะก่อนเป็นสัด Proestrus ในสุนัข ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ โดยในปีหนึ่งๆ จะสุนัขจะเป็นประจำเดือนนี้ 1-3 ครั้งเท่านั้น จะเกิดขึ้นบ่อยในสุนัขพันธุ์เล็กมากกว่าพันธุ์ใหญ่ การมีประจำเดือนคือสัญญาณของความพร้อมในการผสมพันธุ์นั่นเอง

ในช่วงนี้ร่างกายสุนัขจะเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งระดับฮอร์โมนและพฤติกรรมที่แสดงออก หากเจ้าของยังไม่ต้องการดูแลลูกสุนัข ควรแยกตัวสุนัขตัวเมียออกจากตัวผู้ก่อนเป็นระยะประมาณ 2-3 สัปดาห์ แต่หากเจ้าของต้องการดูแลสุนัขและเจ้าตัวเล็ก ก็สามารถเลือกช่วงเวลาให้สุนัขได้ผสมพันธุ์และตั้งท้องได้ตามปกติ

ช่วงที่สุนัขมีประจำเดือน จนเกิดการเซื่องซึม เบื่ออาหาร หรือต้องการกินจุกจิก การเลือกอาหารที่เหมาะสม ไม่เสี่ยงต่อการสร้างปัญหาสุขภาพในเวลาที่น้องหมาอ่อนแอเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ JOMO เราเลือกวัตถุดิบเกรดพรีเมียม ใช้โปรตีนหลักนำเข้าจากเนื้อแกะออสเตรเลีย มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ พร้อมอุดมไปด้วยโอเมก้า 3&6 จากน้ำมันปลาแซลมอน ช่วยบำรุงสุขภาพให้น้องหมาสดใส สุขภาพดี จากภายในทุกวัน สั่งซื้อตอนนี้ส่งฟรีทั่วประเทศ

เมื่อสุนัขมีประจำเดือน อีกกี่วันพร้อมผสมพันธุ์? 

หลังจากผ่านช่วงประจำเดือนไปแล้ว สุนัขจะเข้าสู่ช่วงผสมพันธุ์ โดยทั่วไป จะพร้อมผสมพันธุ์หลังเป็นประจำเดือน 9-14 วัน ซึ่งช่วงพร้อมผสมพันธุ์นี้ สุนัขจะยอมให้ตัวผู้เข้ามาขึ้นคร่อมผสมพันธุ์ได้

สุนัขเป็นประจำเดือน มีอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่?

อาการประจำเดือนคืออาการช่วงก่อนเข้าสู่การเป็นสัด โดยทั่วไปจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของสุนัข แต่สุนัขจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปบ้าง แต่หากอาการประจำเดือนมีสีแดงเข้มติดต่อกันยาวนาน ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป

สุนัขเป็นประจำเดือนนานแค่ไหน และเป็นบ่อยแค่ไหน? 

สุนัขจะเป็นประจำเดือนรอบหนึ่ง 7-14 วันขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ โดยประจำเดือนของสุนัขจะมาทุกๆ 4 หรือ 6 เดือน หมายความว่า สุนัขเป็นประจำเดือนปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น โดยการขยายหลอดเลือดและขนาดอวัยวะเพศเพื่อเป็นสัญญาณให้เห็นถึงความพร้อมในการเข้าสู่ช่วงเป็นสัดของสุนัขตัวเมีย 

สุนัขทำหมันแล้ว เป็นประจำเดือนได้ไหม? 

หลังจากสุนัขทำหมันด้วยการผ่าตัดแล้ว ทั้งท่อระบบสืบพันธุ์ รังไข่ จะถูกผ่าตัดออกทั้งหมด ทำให้สุนัขจะไม่สามารถมีอาการเป็นประจำเดือน และไม่สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมนอีกต่อไป

สุนัขเป็นประจำเดือน อาบน้ำได้ไหม? 

ในช่วงที่เป็นประจำเดือน สุนัขสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ และยังเป็นการดีสำหรับสุนัขด้วยในการทำความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะช่องคลอดที่มีเมือกและเม็ดเลือดแดงปนมา ทำให้สุนัขสบายตัวดีขึ้น