สุนัขเป็นโรคหัวใจอยู่ได้กี่ปี? สรุปทุกเรื่องโรคหัวใจสุนัข

ขึ้นชื่อว่าโรคหัวใจ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับคนหรือสุนัขก็เป็นโรคที่น่าเป็นห่วง เชื่อว่าทุกคนต้องกังวลว่าน้องหมาอาจไม่ได้มีชีวิตที่ยืนยาว อาจต้องทำการรักษาและเจ็บปวด แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้ในน้องหมาไม่ได้รุนแรงอย่างที่คุณคิด วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้ข้อมูลกับเจ้าของทุกคนไม่ว่าจะน้องหมาเป็นโรคหัวใจหรือไม่ น้องหมาเป็นโรคหัวใจแล้วอยู่ได้กี่ปี? ต้องดูแลสุนัขที่เป็นโรคหัวใจอย่างไร? มาทำความเข้าใจโรคหัวใจในสุนัขให้มากขึ้นเพื่อช่วยลดความกังวลกันเลย

สุนัขเป็นโรคหัวใจอยู่ได้กี่ปี?

สุนัขที่เป็นโรคหัวใจมีชีวิตอยู่ต่อได้อีก 6 เดือน – 3 ปี และอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวมากไปกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคหัวใจ ระยะที่พบ วิธีรักษา และการดูแลน้องหมาเช่น การเลือกอาหาร หรือออกกำลังกาย

ความรุนแรงของโรคที่ส่งผลกับอายุสุนัข

จากผลวิจัยพบว่า น้องหมาที่มีอาการหัวใจล้มเหลว อาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 3 ปี โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 6-14 เดือนซึ่งก็ขึ้นอยู่กับน้องหมาแต่ละตัว หากตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้น สุนัขจะยังมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวอย่างมีความสุข อย่างไรก็ดีในกรณีที่โรคของน้องหมารุนแรง และทำให้น้องหมาไม่มีความสุขในชีวิตบั้นปลาย จะมีการรักษาเพื่อให้อาการโรคหัวใจไม่แย่ลงไปกว่านี้ อย่างไรก็ดี อาการหัวใจล้มเหลวอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันโดยไม่มีสัญญาณนำจนน้องหมาเสียชีวิตทันที

การดูแลน้องหมาที่เป็นโรคหัวใจ

การรักษาอาจไม่ทำให้สุนัขหายขาดจากโรคหัวใจได้ แต่ก็จะทำให้พวกเขามีชีวิตที่มีความสุขและยืนยาว ดังนี้

รักษาด้วยอาหารการกินที่ดี

อาหารที่พวกเขาทานแต่ละวันก็เป็นส่วนสำคัญในการรักษาสุขภาพที่ดี โดยเมื่อน้องหมาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ ก็ควรเปลี่ยนอาหารทันทีมาเป็นอาหารแบบโซเดียมต่ำเพื่อช่วยให้หัวใจของสุนัขทำงานได้อย่างปกติ และป้องกันภาวะบวมน้ำ

อาหารสุนัข JOMO ใช้โปรตีนหลักจากเนื้อแกะออสเตรเลีย และใช้ข้าว เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่มีประโยชน์ ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับสุนัข ไม่มีโซเดียมและไขมัน ให้สุนัขได้รับสารอาหารครบถ้วน สุขภาพดี สดใสในทุกวัน สั่งซื้อวันนี้ส่งฟรีทั่วประเทศไทย 

รักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด

การรักษาด้วยยาจะขึ้นอยู่กับโรคที่สุนัขเป็น และสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ดังนี้

  • ยาที่ช่วยให้หัวใจของสุนัขทำงานได้อย่างปกติ และช่วยดูแลไม่ให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ยาที่ช่วยลดภาวะปอดบวมน้ำ
  • การผ่าตัดเพื่อรักษาลิ้นหัวใจที่รั่ว หรือเพื่อใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเพื่อทำให้หัวใจเต้นได้อย่างปกติ
  • ออกกำลังแบบเบา ๆ เพื่อควบคุมน้ำหนัก แต่ไม่ให้หัวใจต้องทำงานหนักเกินไป
  • พาน้องหมาไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อดูอาการอย่างสม่ำเสมอ
สุนัขคอร์กี้นั่งอยู่บนพื้นสีขาว
Photo by fatty corgi on Unsplash

ทำความรู้จักโรคหัวใจในสุนัข

โรคหัวใจในสุนัขนั้นมีความใกล้เคียงกับโรคหัวใจในมนุษย์ที่เราคุ้นเคยกัน โดยมีสาเหตุและอาการดังนี้

สุนัขเป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรอ?

สุนัขสามารถเป็นโรคหัวใจได้เหมือนมนุษย์ นั่นก็เพราะหัวใจของสุนัขมีหน้าที่เดียวกันคือดูแลส่งออกซิเจนและสารอาหารไปทั่วร่างกาย ซึ่งอาการโรคหัวใจในสุนัขจะคล้าย ๆ กับคนคือการที่หัวใจอ่อนแรงลง ไม่สามารถส่งเลือดไปทั่วร่างกายได้อย่างเคย ทำให้อาจมีของเหลวคั่งค้างในอกและอวัยวะ ซึ่งโรคหัวใจสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้หากไม่ได้รับการดูแลรักษา ปัจจุบันโรคหัวใจในสุนัขยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักพบในสุนัขอายุมาก และการเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจ 

4 สาเหตุของโรคหัวใจในสุนัข

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าโรคหัวใจในสุนัขยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานดังนี้

1. เกิดจากโรคพยาธิหนอนหัวใจ

โรคพยาธิหนอนหัวใจเกิดจากยุงที่มีเชื้อมากัดสุนัข จนพยาธิไปเติบโตในหัวใจและปอดของน้องหมา ทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดจนหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น สุนัขจะมีอาการไอเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ เหนื่อยง่าย กินได้น้อยลง จนเสี่ยงหัวใจวายได้

2. เกิดจากน้ำหนักตัวที่มาก

สุนัขที่มีน้ำหนักเกินจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าสุนัขที่มีน้ำหนักปกติ โดยสามารถสังเกตง่าย ๆ คือสุนัขอ้วนจะมีชั้นไขมันอยู่บริเวณคอ แขนขาและกระดูกสันหลัง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกได้ว่าช่องท้องมีลักษณะป่องขึ้นมา เจ้าของสามารถช่วยลดความอ้วนน้องหมาได้ด้วยการคุมปริมาณอาหารที่ทาน ควบคุมปริมาณขนมที่ให้ในแต่ละวัน และอย่าลืมพาสุนัขไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หมดกังวลเรื่องการให้ขนมสุนัข เพียงเลือก JOMO Treats ขนมสุนัขที่เราคัดเลือกวัตถุดิบอย่างดีจากปลาแซลมอนและปลาเนื้อขาวพันปลาแผ่น ทำให้หมาแพ้ไก่ทานได้ Omega 3 และ 6 ช่วยบำรุงขน ผิวหนัง ดีต่อสุขภาพสุนัข และยังมีคอลลาเจนบำรุงกระดูกและข้อ สั่งซื้อ คลิกเลย 

3. เกิดจากอายุของสุนัข

ปัญหาโรคหัวใจในสุนัขมักเกิดพร้อม ๆ กับอายุที่มากขึ้นของน้องหมา ซึ่งเราสามารถดูแลพวกเขาให้มีสุขภาพที่ดี พร้อมต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้ด้วยการออกกำลังกาย และให้กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งสำหรับสุนัขที่เป็นโรคหัวใจ จะต้องกินอาหารแคลอรีต่ำ โซเดียมต่ำ เพื่อช่วยคุมน้ำหนัก 

อย่าลืมเลือก JOMO อาหารสุนัขเกรดพรีเมี่ยมให้ได้ดูแลสุขภาพสุนัขของคุณ ใช้โปรตีนหลักจากเนื้อแกะออสเตรเลีย ไม่มีส่วนผสมของ By-product จึงลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรค และยังมีส่วนผสมของน้ำมันปลาแซลมอน อุดมไปด้วย Omega 3 ซึ่งดีต่อหัวใจสุนัขอีกด้วย สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ 

4. เกิดจากสายพันธุ์ของสุนัข

โรคลิ้นหัวใจในสุนัขพบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์เล็ก อย่างเช่นพุดเดิ้ล ปอมเมอเรเนียนและชเนาเซอร์ ส่วนโรคหัวใจขาดเลือดมักพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่อย่างเกรทเดน เป็นต้น

ชนิดของโรคหัวใจในสุนัข

โรคหัวใจในสุนัขมีสองแบบซึ่งสามารถรักษาได้ผ่านการให้สารอาหาร การออกกำลังกาย และการให้ยา ซึ่งไม่ว่าป่วยด้วยชนิดไหน สุนัขก็มีโอกาสที่จะหายเป็นปกติได้ดังเดิม 

โรคหัวใจสุนัขที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด 

โรคหัวใจสุนัขแบบที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ลิ้นหัวใจตีบ (vascular stenosis), ความผิดปกติของผนังกั้นหัวใจห้องซ้ายและขวา (septal defect) หรือ ผนังกั้นห้องหัวใจเป็นรู

โรคหัวใจในสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง

แม้น้องหมาจะเกิดมาอย่างแข็งแรง แต่หากมีอาการออกกำลังกายอย่างหักโหมมากเกินไป มีภาวะน้ำหนักเกิน หรืออายุเยอะ ก็อาจจะเกิดอาการโรคหัวใจขึ้นมาภายหลังได้ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

 1. โรคลิ้นหัวใจ (Chronic Valvular Disease)

เป็นโรคที่เกิดเมื่อลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจจะไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ทำให้ไปลดปริมาณของเลือดที่จะไหลเวียนไปทั่วร่างกาย

โรคลิ้นหัวใจไมทรัลรั่ว (Mitral valve insufficiency)

อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อลิ้นหัวใจไมทรัลในหัวใจห้องซ้ายจากที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างรั่ว

2. โรคหัวใจขาดเลือด (Myocardial Disease)

สำหรับอาการนี้จะเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแรง หรือหนาตัวขึ้น ทำให้หัวใจบีบตัวเพื่อส่งเลือดได้แย่ลง

โดยอาการของโรคหัวใจสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งเกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปตามร่างกายได้ ทำให้เกิดอาการน้ำท่วมปอดจนไม่สามารถหายใจได้อย่างปกติ

โรคหัวใจในสุนัขมีอาการอย่างไร?

อาการเริ่มต้นที่มักจะพบได้แก่ 

  • ไอมากกว่าปกติ (ระหว่างหรือหลังออกกำลังกาย ก่อนเวลานอน)
  • หายใจลำบาก 
  • เหนื่อยง่าย
  • เดินวนไปมาหลายรอบอย่างกระวนกระวายก่อนจะลงนอน
  • หายใจถี่ขึ้น

เมื่อโรคหัวใจแย่ลง อาจมีอาการต่อไปนี้

  • ท้องมาน (ท้องบวมจากของเหลวที่สะสมในช่องท้อง)
  • หมดสติจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
  • ลิ้นหรือเหงือกสำคล้ำซีดจากการขาดออกซิเจน
  • น้ำหนักลดผิดปกติ (เสียความสามารถในการสะสมไขมัน)

วิธีการวินิจฉัยโรคหัวใจในสุนัข

อาการของโรคหัวใจนั้นคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ ในสุนัข จึงทำให้อาจเกิดการสับสนได้ หากพบอาการตามที่เราระบุ ให้ลองปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

  • ให้หูฟังแพทย์ฟังเสียงฟู่ของหัวใจและเสียงน้ำในปอด
  • คลำตรวจเพื่อหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
  • เอกซเรย์เพื่อดูว่าหัวใจโตผิดปกติหรือไม่ 
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจและอาการหัวใจโต
  • การตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อตรวจพยาธิหนอนหัวใจและอาการของอวัยวะภายใน
  • อัลตร้าซาวนด์เพื่อดูขนาด รูปร่าง และการเต้นของหัวใจ
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitoring) เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง

สรุปเรื่องสุนัขเป็นโรคหัวใจอยู่ได้กี่ปี

โรคหัวใจในสุนัขเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับโรคหัวใจในมนุษย์ โดยหัวใจจะอ่อนแรงลง ไม่สามารถส่งเลือดไปทั่วร่างกายได้อย่างเคย ทำให้อาจมีของเหลวคั่งค้างในอกและอวัยวะ ซึ่งโรคหัวใจสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้หากไม่ได้รับการดูแลรักษา ปัจจุบันโรคหัวใจในสุนัขยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักพบในสุนัขที่มีพยาธิหนอนหัวใจ มีน้ำหนักตัวที่มาก มีอายุมาก และเกิดจากสายพันธุ์ของสุนัข สำหรับโรคหัวใจมีหลัก ๆ สองแบบ คือโรคลิ้นหัวใจและโรคหัวใจขาดเลือด เมื่อสุนัขเป็นโรคหัวใจจะมีอาการไอมาก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หายใจถี่ ลงนอนไม่ได้ เมื่ออาการหนักขึ้นจะมีอาการท้องมาน หมดสติ ลิ้น เหงือกคล้ำจากการขาดออกซิเจน และน้ำหนักลดผิดปกติ สำหรับการวินิจฉัยโรคหัวใจทำได้หลายอย่างตั้งแต่ฟังเสียงหัวใจ เสียงปอด คลำตรวจการเต้นของหัวใจ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเลือดและปัสสาวะ อัลตร้าซาวนด์ รวมไปถึงการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง สุนัขที่มีอาการหัวใจล้มเหลวอาจอยู่ได้ 6-14 เดือน หรือมากสุดถึง 3 ปีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และการดูแลเรื่องอาหารการกินที่ดี ให้ยา ทำการผ่าตัด ออกกำลังกายแบบเบา ๆ และพาไปพบแพทย์สม่ำเสมอ

เลือกอาหารสุนัขเกรดพรีเมี่ยมอย่าง JOMO ให้ได้ดูแลสุขภาพหัวใจของน้องหมาสุดที่รักของคุณ ดีกับทั้งน้องหมาที่ป่วยและน้องหมาสุขภาพแข็งแรง เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลาย ใช้คาร์โบไฮเดรตจากข้าวที่ไม่มีโซเดียมและไขมัน ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคไตและโรคอ้วน เราเลือกวัตถุดิบหลักเป็นโปรตีนจากเนื้อแกะออสเตรเลียชั้นดี โปรตีนสูง 23% ไร้ by-product ที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ สั่งซื้อวันนี้ ส่งฟรีทั่วประเทศไทย คลิกเลย! 

สุนัขที่เป็นโรคหัวใจกินอาหารอะไร?

เมื่อตรวจพบว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจ ควรเปลี่ยนมาให้อาหารแบบโซเดียมต่ำเพื่อช่วยให้หัวใจของสุนัขทำงานได้อย่างปกติ และป้องกันภาวะบวมน้ำ

สุนัขเป็นโรคหัวใจอยู่ได้นานไหม?

อายุของสุนัขเป็นโรคหัวใจขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคหัวใจ และการดูแลรักษาสุขภาพหัวใจของน้องหมาทั้งอาหารการกินและการรักษา แต่สำหรับสุนัขที่มีอาการหัวใจล้มเหลวจะอยู่ได้ประมาณ 6-14 เดือนหรืออาจมากถึง 3 ปี

สุนัขเป็นโรคหัวใจได้ไหม?

สุนัขเป็นโรคหัวใจได้ได้ เนื่องจากหัวใจของสุนัขทำงานคล้าย ๆ กับคนคือการส่งออกซิเจนและสารอาหารไปทั่วร่างกาย โดยมีโรคหัวใจสองแบบคือ โรคลิ้นหัวใจและโรคหัวใจขาดเลือด