ป้องกันกำจัดเห็บ หมัด สุนัข ให้น้องหมาสบายตัว ไม่กวนบ้าน พิสูจน์แล้วได้ผลจริง

ปัญหาเห็บ หมัด รบกวนเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะกับประเทศร้อนชื้น อย่างประเทศไทย ซึ่งมีสภาพอากาศที่เหมาะกับการแพร่พันธุ์ของเห็บ หมัดสายพันธุ์ต่างๆ ทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มารบกวน เกาะ กินและเป็นพาหะนำโรคของสุนัขที่เราเลี้ยง ตั้งแต่อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ไปจนถึงการเจ็บป่วยรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เห็บ หมัด เหล่านี้คืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไรและมีความอันตรายแค่ไหน วันนี้เราจะพาทุกท่านมาเรียนรู้เรื่องของเห็บ หมัด และวิธีการจัดการกำจัดเห็บ หมัด น้องหมา อย่างได้ผล เพื่อสุขภาพที่ดีของน้องหมาที่คุณรัก

เห็บ หมัด สุนัข มีที่มาจากอะไร เกิดขึ้นจากอะไรบ้าง

เห็บและหมัด นับเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวงจรชีวิตขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และ ความชื้น โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) มีส่วนเพิ่มปริมาณและการแพร่พันธุ์ โดยเฉพาะเห็บ ที่มีการขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมากขึ้น สำหรับเห็บและหมัด ร่างกายของสุนัขนั้นถือเป็นบ้านอันสวยงาม ที่ให้พวกมันพร้อมใจกันเข้าไปอยู่ และอาศัยบนความสัมพันธ์แบบปรสิต (Parasite) นั่นคือสุนัขเจ้าของร่างไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการที่เจ้าพวกนี้มาอยู่ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อสุขภาพ การติดเชื้อและอาการป่วยต่างๆ ทั้งพยาธิตัวตืด พยาธิในเม็ดเลือด และอื่นๆ อีกมากมาย

สาเหตุการมีเห็บหมัดจากสายพันธุ์สุนัข

นอกจากนี้ชนิดหรือสายพันธุ์ของสุนัขก็มีส่วนด้วย โดยสุนัขที่มีขนยาว จะเมีเห็บได้ง่ายกว่า ยิ่งไม่ได้รับการรักษาความสะอาดอย่างเพียงพอก็ยิ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เห็บ หมัด เข้ามาอาศัยอยู่บนส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ง่ายขึ้น เพราะยิ่งมีกลิ่นตัว ยิ่งเป็นการดึงดูดเห็บหมัดต่างๆ ให้เข้ามาเกาะได้ ซึ่งนอกเหนือจากการทำความสะอาด การเลือกอาหารที่มีส่วนผสมของยัคคา จะช่วยลดปัญหากลิ่นตัวของน้องหมาได้ด้วย อาหารสุนัขเกรดพรีเมียม JOMO มีส่วนผสมของยัคคา ช่วยลดกลิ่นตัว คราบน้ำตา และอุจจาระให้น้องหมาสดใสสุขภาพดี สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ ส่งฟรีทั่วประเทศไทย

สาเหตุการมีเห็บหมัดจากที่อยู่อาศัยของสุนัข

สถานที่อยู่ก็สำคัญ โดยเฉพาะในบ้านที่มีพื้นดิน หรือ สนามให้วิ่งเล่น บางครั้งสุนัขของเราอาจถูกเห็บ หมัด เกาะอยู่ เพียงแค่ยังอยู่ในสถานะตัวอ่อนหรือเป็นไข่พยาธิ ซึ่งทำให้มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เรามาดูรายละเอียดของเห็บ หมัด เหล่านี้กันก่อนดีกว่า 

โรคที่เกิดจาก เห็บสุนัข

เห็บสามารถเป็นพาหะนำโรคในสุนัขได้หลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และพยาธิที่ติดตัวของเห็บในพื้นที่นั้นๆ ตัวอย่างโรคที่พบได้ เช่น 

1. โรคลายม์

โรคลายม์ (Lyme Disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในเห็บ หลังจากสุนัขถูกกัดแล้ว โรคนี้จะมีหลายสภาวะอาการที่แสดงออก ตั้งแต่ การเป็นผื่น ตุ่มแดง คัน ไปจนถึงลดความอยากอาหาร เซื่องซึม และ ในกรณีที่อันตรายอาจส่งผลกระทบต่อตับของสุนัขได้ด้วย หากสุนัขมีอาการเซื่องซึมและตรวจพบ เห็บ มากัดในจำนวนหนึ่ง ให้พาไปพบสัตวแพทย์ เพราะจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อ

2. โรคบาบีซิโอซิส 

โรคบาบีซิโอซิส (Babesiosis) โรคพยาธิในเลือดที่เกิดจากเห็บเป็นพาหะนำโรค โดยโรคนี้มีระบาดทั่วไป นำไปสู่อาการโลหิตจางในสุนัขได้ สามารถเกิดจากเห็บกัด หรือ เกิดจากการที่สุนัขที่มีเชื้อมากัดก็ได้เช่นกัน มีความอันตรายขึ้นอยู่กับสภาพอาการ โดยที่ัสังเกตสุนัข เช่น เซื่องซึม เหงือกซีด ตัวร้อนและความอยากอาหารลดลง 

โรคที่เกิดจาก หมัดสุนัข

นอกจากความจะมีอายุยืนแล้ว หมัด ยังสามารถเป็นพาหะนำโรคได้อีกหลายชนิด เช่น

1. โรคภูมิแพ้ น้ำลายหมัด

โรคภูมิแพ้น้ำลายหมัด (Allergy dermatitis)  อาการแพ้ที่เกิดขึ้นจากการที่สุนัขแพ้โปรตีนที่อยู่ในน้ำลายของหมัด เกิดขึ้นได้ แม้ถูกหมัดกัดเพียงตัวเดียว ในสุนัขที่แพ้ง่าย สามารถมีอาการอยู่ 5 – 7 วัน โดยทำให้เกิดจุดแดงบนผิว ผื่น มีอาการคันและมีการติดเชื้อที่หูในสุนัข หากปล่อยไว้และเรื้อรัง จะส่งผลให้สุนัขเกาจนเป็นแผลและติดเชื้อมากขึ้น

2. โรคติดเชื้อพยาธิตัวตืด

การติดเชื้อชนิดนี้มักเกิดขึ้นจากการกินไข่ของพยาธิตัวตืดเข้าไป ซึ่งโดยมากเกิดขึ้นจากการที่หมัดกินไข่พยาธิและสุนัขอาจจะกินหมัดที่เกาะอยู่บนตัวเข้าไปอีกที ซึ่งเมื่อไข่พยาธิไปเติบโตในลำไส้ จะแย่งเอาสารอาหารจากสุนัข ทำให้สุนัขท้องมาน สังเกตได้ว่าอุจจาระจะเหลว มีเม็ดคล้ายเม็ดแตงหลุดปนออกมา น้ำหนักลด บางตัวมีอาการคันก้น ต้องเอาก้นถูกับพื้นบ่อยๆ 

3. โรคโลหิตจาง

โรคโลหิตจาง (Anemia) จากการที่หมัดดูดเลือดสุนัขมีจำนวนมาก ทำให้ความเข้มของเกล็ดเลือดในเม็ดเลือดแดงต่ำลง การขนส่งออกซิเจนในเลือดทำได้น้อยลง ส่งผลให้สุนัขมีอาการโลหิตจาง เหนื่อยง่าย เซื่องซึม เหงือกจะมีสีจางลง 

สุนัขสีขาว นอน มองหน้า ในบ้าน
Photo by Mike Burke on Unsplash

การกำจัดเห็บ หมัด ดูแลรักษาสุขภาพสุนัข

จะเห็นได้ว่าทั้ง เห็บและหมัด สามารถนำโรคร้ายแรงต่างๆ มาสู่สุนัขของคุณได้ การดูแลและป้องกันน้องหมาอย่างถูกวิธีจึงจำเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันและกำจัดเห็บหมัดต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ 

1. อาบน้ำ ทำความสะอาด

แนะนำให้อาบน้ำน้องหมาเดือนละ 1-2 ครั้ง ไม่ควรบ่อยเกินไปเพราะจะทำให้ผิวหนังแห้ง โดยการอาบน้ำแต่ละครั้ง ให้เพิ่มแชมพูสำหรับกำจัดเห็บหมัด และเน้นการแกะ หรือ ดึงตัวเห็บหมัดไปแช่ในน้ำยา ไม่ควรบี้หรือขยี้ เพราะจะเป็นการทำให้เห็บหมัดปล่อยสารพิษหรือทำให้เชื้อโรค แบคทีเรียต่างๆ แพร่กระจายมากกว่าเดิม

2. ดูแลสุขอนามัยและอาหาร

บางครั้งเห็บ หมัด หรือไข่พยาธิก็แฝงตัวอยู่ในอาหารที่น้องหมากินอยู่ การดูแลความสะอาดของชามข้าว ไม่ให้อาหารที่ตกบนพื้นดินก็ช่วยได้ นอกจากนี้การให้อาหารที่ดีต่อสุขภาพ หรือที่ผสมยัคคา จะช่วยลดกลิ่นตัวน้องหมา ลดความเสี่ยงของการถูกเห็บ หมัด มาเกาะตามตัวได้ด้วย ซึ่งอาหารสุนัขเกรดพรีเมี่ยม JOMO มีส่วนผสมของยัคคา ที่ช่วยลดกลิ่นตัว อุจจาระ และคราบน้ำตา ช่วยดูแลสุขภาพของสุนัขได้อย่างดี สามารถสั่งซื้อได้ที่นี่ ส่งฟรีทั่วประเทศไทย

3. ดูแลที่อยู่อาศัย ฉีดพ่นกำจัดเห็บหมัด 

สำหรับใครที่มีพื้นที่บ้านให้น้องหมาวิ่งเล่น อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการถูก เห็บหมัด ที่อยู่ในดินเกาะขึ้นมาได้ ปัจจุบันมีบริการกำจัดปลวก ที่มักจะครอบคลุมการฉีดพ่นกำจัดเห็บ หมัด ในดิน ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดี ที่ช่วยดูแลน้องหมาให้สามารถวิ่งเล่นได้อย่างสบายใจมากขึ้น แต่ในช่วงฤดูฝน หรือ ช่วงฝนตกก็ยังต้องระวังอยู่เคยเพราะความชื้นและกระแสลม สามารถพัดเอาเห็บหมัด ให้เกาะติดกับสุนัขได้ง่ายขึ้น และ มีความเสี่ยงมากขึ้น 

4. ตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์

อาการป่วยบางอย่างของสุนัขสามารถบ่งบอกที่มาได้จากหลายสาเหตุ หรือบางอาการอย่างโรคโลหิตจาง เราไม่อาจตรวจสอบได้จากภายนอก การหมั่นพาน้องหมาไปตรวจสุขภาพประจำปี ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ช่วยให้เราได้ติดตามสุขภาพน้องหมาอย่างใกล้ชิด หรือ สามารถรักษาอาการป่วยต่างๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ 

ทำความรู้จักกับเห็บ หมัด ให้มากขึ้น

นอกเหนือจากปัญหาสุขภาพน้องหมาและการที่เจ้าของต้องคอยระวังบรรดาเห็บ หมัด เหล่านี้แล้ว เรามีเกล็ดความรู้และวงจรขชีวิตของเจ้าเห็บหมัดเหล่านี้มาเล่าให้ฟัง เพื่อให้คุณได้รู้จักกับศัตรูตัวจิ๋วเหล่านี้ให้มากขึ้น

เห็บ ศัตรูตัวร้ายสำหรับสุนัข 

เห็บนับเป็นแมงชนิดหนึ่ง ลักษณะรูปร่างรี ลำตัวคล้ายรูปไข่ สีน้ำตาล-ดำ มีขนาด  1 มิลลิเมตร ไปจนถึง 1 เซนติเมตร ขนาดจะใหญ่ขึ้นตามเลือดที่ดูดเข้าไป ยิ่งดูดเลือดสุนัขไว้นาน สีของลำตัวยิ่งเข้มขึ้น นอกจากนี้เห็บยังเป็นพาหะนำโรคต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งเราจะอธิบายในลำดับถัดไป

 เห็บสามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่รก ชื้นแฉะ สามารถแพร่พันธุ์และวางไข่ได้ 2,000 – 4,000 ฟอง ในเวลา 10 วัน ยิ่งความชื้นมาก ไข่และตัวอ่อนของเห็บจะยิ่งเจริญเติบโตได้ดี โดยตัวเต็มวัย จะขึ้นจากพื้นดินมาดูดเลือดสัตว์ต่างๆ หลังจากโตเต็มไวแล้วก็จะกลับลงไปแพร่พันธุ์ เป็นวงจรชีวิตแบบนี้ ในระยะ 45 – 50 วัน  

หมัด ปรสิตที่คอยดูดเลือดสุนัข 

หมัดเป็นอีกหนึ่งพาหะนำโรคของสุนัข สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย โดยจะมีขนาดลำตัวเล็กกว่าเห็บ โดยตัวเต็มวัย จะมีขนาด 1 –  4 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่พวกมันกิน มีลำตัวสีน้ำตาลเข้ม เมื่อดูดเลือดจะมีสีดำแดง หมัดนับเป็นแมลงที่ไม่มีปีก แต่สามารถกระโดดได้สูงถึง 6 นิ้ว หมัดมีวงจรชีวิต ตั้งแต่ฟักไข่จนถึงตัวเต็มวัยที่ประมาณ 15 – 20 วัน ขึ้นอยู่กับความร้อนและชื้นของสภาพอากาศ ยิ่งร้อน ชื้น มาก หมัดยิ่งเติบโตได้ดี 

หลังจากตัวเต็มวัย หมัดตัวเมียจะวางไข่วันละ 20 -50 ฟอง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของที่อยู่อาศัย หมัดหนึ่งตัว มีอายุยืนสูงสุดอาจมากถึง 1 ปี   

สรุปการกำจัดเห็บ หมัด ในสุนัข 

เห็บ หมัด เป็นปัญหากวนใจที่มักเกิดขึ้นกับคนเลี้ยงสุนัขเสมอ หลายครั้งที่สุนัขต้องเจ็บป่วยจากการถูก เห็บ หมัด กัดและทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพตามมา โดยมีทั้งอาการเล็กน้อยทั่วไปอย่างอาการแพ้ อาการคัน เป็นผื่นต่างๆ ไปจนถึงอาการที่รุนแรงอย่างการมีพยาธิในลำไส้ อาการโลหิตจาง การปล่อยให้สุนัขถูกเห็บหมัดกัดไว้เป็นเวลานาน จะยิ่งทำให้สุขภาพย่ำแย่และอ่อนแอลง

การดูแลรักษาทั้งการอาบน้ำผสมน้ำยาฆ่าเห็บหมัด การให้อาหารให้ถูกสุขอนามัย การดูแลที่อยู่อาศัย ที่วิ่งเล่นของน้องหมาและการตรวจสุขภาพเป็นประจำ สามารถช่วยลดปัญหาได้ ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่พบของการถูกเห็บหมัดตามเกาะคือ ปัญหากลิ่นตัว ยิ่งสุนัขขนยาว มีกลิ่นตัวมากสะสมมาก จะยิ่งทำให้เห็บหมัดมาเกาะมากขึ้น 

แก้ปัญหากลิ่นตัวสุนัขได้ด้วยอาหารที่มีส่วนผสมคุณภาพ อย่างการให้อาหารที่มี ยัคคา ส่วนผสมจากธรรมชาติ ช่วยให้น้องหมามีกลิ่นตัวลดลง ลดกลิ่นอุจจาระและคราบน้ำตา ซึ่งทั้งหมดนี้ มีครบในอาหารสุนัขเกรดพรีเมี่ยม JOMO สั่งวันนี้ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ

เห็บ หมัด อันตรายต่อสุขภาพมากแค่ไหน?

การที่สุนัขถูกเห็บ หมัด กินเลือดนั้นก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างทั้งกับลักษณะภายนอกอย่างอาการคันหรือผื่นแดง และ มีอาการที่ปัญหาสุขภาพภายในอย่างพยาธิภาพ ปัญหาโลหิตจาง ส่งผลให้สุขภาพของสุนัขแย่ลงได้ ซึ่งเสี่ยงให้เกิดปัญหาติดเชื้อและก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงถึงชีวิตได้

ควรบี้ หรือ ฆ่าเห็บหมัดหรือไม่?

การบี้และทุบเห็บ หมัด จะยิ่งเป็นการแพร่กระจายทั้งแบคทีเรียและสารพิษที่เป็นอันตรายทั้งต่อสุนัขและต่อเจ้าของด้วย การฆ่าเห็บหมัดที่ถูกต้องจึงควรใช้การแช่ในน้ำยาฆ่าเห็บหมัด แล้วนำไปฝังหรือเผาไฟ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียให้ตายสนิท

ปัจจัยที่ทำให้สุนัขโดนเห็บ หมัด มาเกาะได้ง่ายคืออะไร

เห็บหมัด อาศัยอยู่ตามพื้นดิน เติบโตได้ดีในอากาศร้อนชื้น ส่วนมากจึงมักขึ้นอยู่กับที่อยู่อาศัยของสุนัข การที่สุนัขขนยาว จะยิ่งทำให้มีเห็บหมัดได้ง่ายกว่า นอกจากนี้การดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้