สุนัขอ้วนเสี่ยงโรคเพียบ เช็กน้ำหนัก & ลดพุงหมาอ้วนให้อยู่หมัด

เราอาจคุ้นเคยกับคลิปสุนัขแก้มยุ้ย พุงพลุ้ยน่ากอดตามโซเชียลมีเดีย แต่ความน่ารักนั้นแฝงมาด้วยอันตรายด้านสุขภาพของสุนัขหลากหลายตั้งแต่ปัญหาข้อกระดูกไปจนถึงโรคมะเร็ง ยังไม่นับความเสี่ยงทางสุขภาพอีกมากมายที่ตามมา ซึ่งผลวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกาก็พบว่ามีสุนัขจำนวนไม่น้อยมีปัญหาน้ำหนักเกิน ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขอ้วน? แล้วต้องดูแลปัญหานี้อย่างไร? ให้น้องหมากินอะไรได้บ้าง? เรามีคำตอบ 

สุนัขอ้วนต้องทำยังไง?

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าความน่ารัก แก้มยุ้ยของสุนัขอ้วนนั้นแฝงไปด้วยอันตราย เนื่องจากน้ำหนักที่มากและการไม่ออกกำลังกายอาจส่งผลต่อสุขภาพน้องหมาได้ หากเจ้าของเริ่มสังเกตว่าน้องหมาน้ำหนักเกินจะสามารถทำดำเนินการได้หลายอย่าง ตั้งแต่การเลือกอาหาร พาน้องหมาออกกำลังกายอย่างเหมาะสม แต่ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและถูกวิธีเพื่อไม่ให้อันตราย

5 วิธีสังเกตว่าสุนัขอ้วนเกินไปหรือยัง?

นอกจากเรียนรู้การสัมผัสซี่โครงและการสังเกตร่างกายสุนัขแล้ว ยังสามารถสังเกตสุนัขอ้วนผิดปกติได้ด้วยวิธีดังนี้

1. มองดูสุนัขจากด้านข้าง

หากสุนัขมีท้องป่อง ห้อยย้อย พุงกลม นั่นคืออีกสัญญาณหนึ่งของการเริ่มเป็นสุนัขอ้วน แต่หากสุนัขของคุณยังมีท้องที่ตึงแน่นโดยไม่มีพุงห้อยลงมา  หมายถึงคุณยังสบายใจได้ น้องหมายังมีสุขภาพที่ปกติ

2. มองหาไขมันส่วนเกิน

หากสุนัขมีเหนียง ก้อนไขมันส่วนเกิน นั่นคือสัญญาณสำคัญของการอ้วน นอกจากนี้ในบางตัวยังมีก้อนไขมันส่วนเกินบริเวณขาที่จะสั่นเวลาพวกเขาเดิน และอย่าลืมมองหาที่บริเวณสะโพก หากมีก้อนไขมันเกินออกมา ให้ระวังน้ำหนักของพวกเขาได้แล้ว

3. สังเกตพฤติกรรมน้องหมา

เมื่อน้องหมามีน้ำหนักที่มาก พวกเขาจะขี้เกียจ และใช้เวลาหาของกินเป็นส่วนใหญ่ หากสุนัขของคุณเริ่มนอนเยอะ มีปัญหาในการเกิน และมีปัญหาในการขยับตัว พวกเขาอาจเริ่มมีปัญหาเรื่องน้ำหนัก โดยเฉพาะเมื่อให้อาหารน้องหมาแบบบุฟเฟต์ อยากกินเมื่อไหร่ก็กิน

4. ปัญหาในการหายใจ

ปอดของสุนัขอ้วนจะไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติเนื่องจากไขมันในช่วงอกจะไปกดการขยายของปอด และกดกะบังลม ในขณะเดียวกัน สุนัขที่อ้วนก็ต้องการออกซิเจนมากเพื่อไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย แต่ไม่สามารถหายใจได้อย่างเต็มอิ่ม

5. ชั่งน้ำหนักน้องหมา

วิธีที่ง่ายที่สุดในการวินิจฉัยว่าน้องหมาน้ำหนักเกินหรือไม่ คือการชั่งน้ำหนักที่คลินิกหรือโรงพยาบาล สัตวแพทย์จะบอกคุณได้ว่าน้องหมากำลังอยู่ในภาวะอ้วนหรือเปล่า ด้วยขนาดของน้องหมาและพันธุ์ อย่าลืมว่าน้ำหนักที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์ ซึ่งสัตวแพทย์จะสามารถเปรียบเทียบกับ body condition score chart ซึ่งจัดอันดับสุนัขด้วยความอ้วนระดับ 1-9 โดยน้ำหนักที่เหมาะสมคืออันดับ 4-5 

สุนัขสีน้ำตาลตัวใหญ่นอนยิ้มอยู่บนพื้นหญ้า
Image by Barbara Danázs from Pixabay

รู้จักสภาพร่างกายของสุนัข น้ำหนักสุนัขในระยะต่างๆ

สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีน้ำหนักที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้กำหนดเกณฑ์น้ำหนักของสุนัขได้ยาก แต่สำหรับสัตวแพทย์จะมีวิธีวัดคร่าว ๆ แบ่งเป็น 5 ระดับผ่านการสัมผัสซี่โครงและสังเกตร่างกายสุนัข ดังนี้

ระดับที่ 1 (ผอมที่สุด)

ระดับนี้เป็นระดับที่ผอมที่สุด โดยสุนัขจะไม่มีสัดส่วนไขมันในร่างกายเลย สามารถมองเห็นกระดูกสันหลังและซี่โครงได้ชัดเจน 

ระดับที่ 2 (ผอม)

ระดับนี้เป็นระดับที่มีน้ำมีนวลมากขึ้น อาจมองเห็นซี่โครงบางส่วนรวมไปถึงสัมผัสถึงซี่โครงได้ง่าย และสามารถมองเห็นเอวได้ชัดเมื่อมองจากด้านบน

ระดับที่ 3 (น้ำหนักปกติ)

ระดับนี้เป็นระดับที่เหมาะสมของสุนัขโดยทั่วไป ซึ่งจะต้องสามารถจับซี่โครงสุนัขได้ โดยไม่รู้สึกถึงไขมันส่วนเกิน และสามารถมองเห็นเอวได้อย่างชัดเจนเมื่อมองจากด้านบน 

ระดับที่ 4 (ภาวะน้ำหนักเกิน)

ระดับนี้เป็นระดับที่เริ่มมีปัญหาเรื่องอ้วน โดยเมื่อพยายามจะสัมผัสซี่โครง จะรู้สึกได้ถึงชั้นไขมันที่หนา และมีไขมันที่เห็นได้ชัดเจนบริเวณหางต่อกับกระดูกสันหลัง 

ระดับที่ 5 (โรคอ้วน)

ระดับนี้คือระดับที่สุนัขมีปัญหาโรคอ้วนอย่างมาก จะมีชั้นไขมันอยู่บริเวณคอ แขนขาและกระดูกสันหลัง โดยจะรู้สึกได้ว่าช่องท้องมีลักษณะป่องขึ้นมา

ปัญหาสุขภาพของสุนัขอ้วน

ปัญหาสุนัขอ้วนเกิดมาจากการที่น้องหมามีสัดส่วนของไขมันในร่างกายมากเกินไป ซึ่งน้องหมาที่มีน้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ไป 10-20% นับว่ามีน้ำหนักเกิน และน้องหมาที่มีน้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์กว่า 20% นับว่ามีภาวะอ้วน ซึ่งอาจทำให้น้องหมามีปัญหาสุขภาพ รวมไปถึงทำให้อายุสั้นลงได้กว่า 2 ปีเลยทีเดียว โดยภาวะอ้วนของสุนัขนำมาโรคภัยและความเสี่ยงดังนี้

โรคที่อาจเกิดเมื่อมีภาวะอ้วน

  • มะเร็งหลายชนิด
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ข้อเสื่อม และปัญหากระดูกและข้ออื่น ๆ 
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ 
  • เหนื่อยง่าย ปัญหาในการหายใจ
  • ปัญหาด้านผิวหนัง
  • โรคตับและโรคไตในสุนัข
  • ปัญหาในการเดิน
  • เนื้องอก
  • ปัญหากับระบบทางเดินอาหารและการขับถ่าย

อย่างไรก็ดี การที่น้องหมามีภาวะอ้วน ก็ไม่ได้นำไปสู่โรคอย่างเดียว แต่การมีภาวะอ้วนอาจหมายถึงสัญญาณหนึ่งของโรคที่ทำให้น้องหมาควบคุมน้ำหนักไม่ได้ อย่างเช่น ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ที่มักพบในสุนัขสูงวัย โดยจะน้ำหนักขึ้นทั้ง ๆ ที่กินอาหารแบบเดิม ขนร่วง ขนหยาบ เหนื่อยง่าย และอ่อนแรง รวมไปถึงกลุ่มอาการคุชชิ่ง (โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง) ที่จะมีอาการกินน้ำมากและปัสสาวะมาก ท้องกาง มองเห็นเส้นเลือดที่ผิวหนัง รวมไปถึงขนร่วง

ความเสี่ยงทางสุขภาพจากภาวะอ้วน

ภาวะอ้วนไม่ใช่เพียงสาเหตุของการเกิดโรคอื่น ๆ เท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เช่น

เกิดการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย

เนื้อเยื่อไขมันจะมีการผลิต Adipokines หรือสารที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเนื้อเยื่อไขมันและสื่อสารกับอวัยวะสำคัญอื่น ๆ ซึ่งเจ้า Adipokines นี้ มีส่วนให้เกิดกระบวนการอักเสบในร่างกาย ยิ่งสุนัขมีไขมันมากเท่าไหร่ ก็จะมีการผลิตสารอันตรายนี้ก็มากตามไปเท่านั้น ทำให้นอกจากการลดน้ำหนักแล้ว การดูแลเรื่องการอักเสบเรื้อรังก็เป็นอีกเรื่องที่สัตวแพทย์ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด

ลดอายุขัยสุนัข

ภาวะอ้วนจะไปลดอายุขัยของสุนัข ซึ่งเคล็ดลับในการทำให้สุนัขอายุยืนคือ Less is more ยิ่งน้อยยิ่งดี การกินน้อยนั้นดีกับสุขภาพมากกว่า ช่วยทำให้น้องหมาอายุยืน และลดอาการเจ็บป่วยได้ การให้อาหารแคลอรีต่ำกว่าปกติประมาณ 25% และควบคุมน้ำหนักน้องหมานั้นพบว่าช่วยให้อายุยืนขึ้น 2 ปี มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยกว่า รวมไปถึงแข็งแรงมากกว่าในบั้นปลาย

โรคเบาหวาน และภาวะดื้อต่ออินซูลิน

โรคอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเบาหวาน และที่แย่ไปกว่านั้น คือภาวะดื้อต่ออินซูลินในสุนัข โดยสำหรับสุนัขอ้วน ตัวรับอินซูลินในเซลล์ไขมันและเซลล์กล้ามเนื้อจะมีจำนวนน้อยลงหรือใช้การไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะระดับอินซูลินในเลือดสูง ซึ่งจากผลวิจัยก็เป็นไปในทางเดียวกันว่า สุนัขที่มีอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสม สามารถดึงกลูโคสเข้าสู่เซลล์แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีอายุที่ยืนมากกว่าสุนัขที่มีปัญหาเรื่องการผลิตอินซูลิน

ปัญหาขณะวางยาสลบ

หากต้องทำการผ่าตัดที่ให้ยาสลบ หัวใจและปอดของน้องหมาที่มีภาวะอ้วนจะต้องทำงานหนักขึ้นกว่าน้องหมาที่มีน้ำหนักปกติ พวกเขาจะหายใจได้ลำบากเนื่องจากปอดจะขยายได้ยาก ซึ่งอาจส่งผลให้หัวใจวาย และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อในร่างกายไม่พอ นอกจากนี้สุนัขอ้วนจะต้องใช้ปริมาณยาสลบที่มากกว่าสุนัขทั่วไป ทำให้ใช้เวลาในการพักฟื้นหลังออกจากห้องผ่าตัดนานกว่า รวมไปถึงการย่อยยาสลบมักเกิดที่ตับ แต่ตับของสุนัขอ้วนก็ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก นี่ทำให้น้องหมาใช้เวลานานในการกำจัดยาสลบออกจากร่างกาย จนอาจเกิดปัญหาถึงขั้นเสียชีวิตได้ ยิ่งไปกว่านี้ ชั้นไขมันบนผิวหนังที่หนา ก็ทำให้การผ่าตัดยากขึ้นและใช้เวลานานขึ้น ทำให้กลับไปส่งผลในเรื่องระยะเวลาการสลบ

วิธีลดน้ำหนักสำหรับสุนัขอ้วน ปรับน้ำหนักอย่างถูกวิธี

เมื่อเจ้าของสังเกตว่าสุนัขอ้วน หากเป็นกรณีปกติที่ไม่ได้เกิดจากโรค ก็สามารถช่วยลดน้ำหนักน้องหมาได้ด้วยหลากหลายวิธี ผ่านการลดการให้อาหาร การออกกำลังกาย และการลดอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้น้องหมามีสุขภาพที่ดีขึ้น ดังนี้

1. การควบคุมอาหารเมื่อสุนัขอ้วน

การควบคุมอาหารน้องหมาอ้วนต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ผ่านการแนะนำของสัตวแพทย์ โดยเริ่มต้นได้สองวิธี ดังนี้

ให้น้องหมาทานอาหารสำหรับการลดน้ำหนัก

สาเหตุที่สุนัขอ้วนก็เหมือนกับคนเรา นั่นคือกินเยอะและออกกำลังกายน้อยไป โดยเฉพาะน้องหมาที่กินขนมเยอะ กินอาหารเหลือจากคน ก็จะมีน้ำหนักเกินอย่างรวดเร็ว ซึ่งเราก็แนะนำว่าควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนเริ่มการลดน้ำหนักน้องหมา อาจเริ่มต้นจากการให้อาหารปกติในมื้อเช้า แต่สำหรับมื้อเย็นเปลี่ยนเป็นถั่วแขก อาหารเม็ด และวิตามินเสริมในมื้อเย็น หรือเปลี่ยนมาให้อาหารสุนัขสำหรับลดน้ำหนัก สำหรับใครที่เคยตักอาหารให้ตามใจ ก็เปลี่ยนมาตวงอาหารให้ถูกต้องตามที่แนะนำไว้ข้างถุงอาหารหมา และไม่มีการวางอาหารไว้ให้กินได้ตลอดเวลา เมื่อทานหมดก็คือหมา ที่สำคัญคือเจ้าของต้องกลั้นใจอย่าให้อาหารมากเกินไป แม้น้องหมาจะทำสายตาอ้อนก็ตาม เนื่องจากการที่น้องหมามีน้ำหนักเยอะ ก็จะส่งผลให้อายุสั้นและป่วยง่ายนั่นเอง

อย่าลืมศึกษาเรื่องการให้อาหารสุนัขที่ถูกต้อง ทั้งปริมาณ จำนวนครั้งในการให้ และชนิดที่เหมาะสมสำหรับให้สุนัข จะช่วยทำให้น้องหมามีโภชนาการที่ดี ส่งผลให้มีน้ำหนักที่เหมาะสม และสุขภาพแข็งแรง

ลดการให้ขนม

เปลี่ยนขนมหมาเป็นแบบเฮลตี้ก็จะช่วยในการลดน้ำหนักได้ โดยเริ่มต้นจากการลดปริมาณขนมที่ให้ในแต่ละครั้ง และลองเปลี่ยนจากขนมถุงแบบเดิมอย่างบิสกิต ชีส และขนมไขมันสูงอย่างอื่นมาเป็นผักผลไม้เช่นแครอท แอปเปิล ถั่วแขก บร็อคโคลี่ แตงกวา บลูเบอรี่ กล้วย ฟักทองบด ฯลฯ ที่ไม่มีการปรุงแต่งรสชาติ หากมีการให้ขนมในการฝึกสุนัข ก็อย่าลืมหักแคลอรีส่วนนั้นออกจากปริมาณแคลอรีในมื้ออาหารของน้องหมา และไม่ควรให้เกิน 10% ของปริมาณแคลอรีที่สุนัขควรได้รับในแต่ละวัน

ทั้งนี้ มีอาหารหลายอย่างที่สุนัขไม่ควรกิน หรือกินบางส่วนของอาหารนั้นไม่ได้ เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ข้าวโพดทั้งฝัก ลูกเกด อะโวคาโด เป็นต้น เจ้าของควรระวังให้มากหากมีอาหารเหล่านี้อยู่ในบ้าน

เลือกขนมสุนัข JOMO ที่ปลอดภัยกับสุขภาพน้องหมาและหมดกังวลเรื่องโรคอ้วน เพราะขนมของเราทำจากเนื้อปลาแท้ ๆ ไขมันและแคลอรีต่ำ อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย จึงมั่นใจได้ว่าน้องหมาจะมีสุขภาพแข็งแรงแบบห่างไกลโรคภาวะน้ำหนักเกินอย่างแน่นอน สั่งซื้อได้แล้ววันนี้

การคุมอาหารสำหรับสุนัขที่ทำหมันแล้ว

การทำหมันไม่ได้เกี่ยวกับภาวะอ้วนโดยตรง แต่มีผลให้เกิดภาวะอ้วนได้หากให้อาหารน้องหมาอย่างไม่เหมาะสม เนื่องจากการทำหมันจะทำให้สุนัขเสียฮอร์โมน Estradiol (ฮอร์โมนเพศหลักในเพศหญิง)และ Testosterone (ฮอร์โมนเพศหลักในเพศชาย) แต่ทำให้ฮอร์โมน Leptin ซึ่งทำให้อยากอาหารเพิ่มขึ้นแทน รวมไปถึงทำให้กระบวนการเผาผลาญแย่ลงและหิวบ่อยในขณะเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องให้อาหารสุนัขที่มีแคลอรีน้อยลง รวมไปถึงออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อควบคุมน้ำหนักสุนัข

สุนัขสีดำมีพุงนอนหลับอยู่บนเตียง
Photo by Juan Gomez on Unsplash

2. การออกกำลังกายลดน้ำหนักสุนัขอย่างถูกต้อง

อีกปัจจัยสำคัญในการลดน้ำหนักก็คือการออกกำลังกาย ซึ่งสำหรับสุนัขที่มีภาวะอ้วนก็ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และระมัดระวังให้มาก

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายเป็นตัวเลือกที่ดีมาก ๆ สำหรับการลดน้ำหนัก น้องหมามักจะชอบกิจกรรมนอกบ้านไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือปีนเขา แต่สำหรับน้องหมาที่มีภาวะอ้วน ให้เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเพิ่มความเข้มข้นของการออกกำลังกายเมื่อน้องหมาเริ่มลดน้ำหนักได้ แต่ระวังอย่ากดดันมากจนเกินไป โดยเฉพาะกับสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ และให้ระวังเรื่องฮีทสโตรกด้วย

เริ่มฝึกการวิ่งให้สุนัข

การวิ่งที่ถูกต้องจะช่วยลดปัญหาข้อเข่าของสุนัขได้ แต่ควรเริ่มวิ่งหลังจากอายุ 1 ขวบไปแล้ว และควรพาไปวิ่งบนพื้นหญ้า หรือพื้นนุ่ม ๆ จะดีกว่าการพาไปวิ่งบนพื้นคอนกรีตแข็ง ๆ สำหรับสุนัขโตสามารถเริ่มฝึกวิ่งบนพื้นปกติได้ แต่ให้ระวังปัญหาสุขภาพของสุนัขเพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยจากการออกกำลังกาย 

กีฬาสุนัข ตัวช่วยลดน้ำหนักที่ดี

กีฬาสุนัขเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้คุณกับน้องหมาใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยจะเป็นการวิ่งผ่านสิ่งกีดขวาง ทำให้คุณต้องช่วยสุนัขด้วยการให้สัญญาณมือและท่าทาง ที่สำคัญคือการวิ่งผ่านท่อ หรือกระโดดขึ้นลงนั้นช่วยเผาผลาญแคลอรีได้เป็นอย่างดี สำหรับมือใหม่ก็สามารถหาคลาสเรียนเพื่อฝึกและช่วยลดน้ำหนักน้องหมาได้ อย่างไรก็ดีให้ตรวจสอบอาการของสุนัขเป็นระยะ หากน้องหมาหอบผิดปกติให้พาเข้าร่มทันที โดยเฉพาะกับน้องหมาพันธุ์หน้าสั้นที่มีอาการฮีทสโตรกได้ง่าย สำหรับกรณีที่น้องหมาเหนื่อยง่ายอาจเปลี่ยนมาออกกำลังกายช่วงเช้าหรือเย็นแทน

3. ลดน้ำหนักน้องหมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

เรื่องสำคัญที่สุดที่ควรจำให้ขึ้นใจคือ การลดน้ำหนักน้องหมาต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรให้น้ำหนักน้องหมาลดฮวบฮาบอย่างเด็ดขาดเพราะมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งการควบคุมน้ำหนักที่ดีที่สุดไม่ใช่การลดให้ถึงเป้าหมาย แต่เป็นการให้อาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสมในระยะยาว

สุนัขโกลเด้นสีเหลืองตัวใหญ่นอนอยู่บนพื้น
Image by Rafael Augusto Ferreira Cardos Reifous from Pixabay

สรุปเรื่องสุนัขอ้วน และการลดน้ำหนักน้องหมา

สุนัขมีขนาดร่างกาย 5 แบบ ไล่ตั้งแต่ผอมที่สุด ผอม น้ำหนักปกติ ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน ซึ่งวัดจากการสัมผัสซี่โครงของสุนัขและการดูรอบเอวจากด้านบน มองสุนัขจากด้านข้าง มองหาไขมันส่วนเกิน สังเกตพฤติกรรมน้องหมา ปัญหาในการหายใจ และการชั่งน้ำหนัก โดยปัญหาสุขภาพของสุนัขอ้วนนั้นเกิดได้หลายโรค เช่น มะเร็งหลายชนิด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ข้อเสื่อม และปัญหากระดูกและข้ออื่น ๆ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เหนื่อยง่าย และที่สำคัญคือทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย อายุสั้นลงกว่าสุนัขที่มีน้ำหนักปกติ เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินและปัญหาขณะวางยาสลบ ทั้งนี้การลดน้ำหนักสุนัขสามารถเริ่มต้นได้จากการควบคุมอาหาร ทั้งการเปลี่ยนวิธีให้อาหาร เปลี่ยนสูตรอาหารหมา อย่าให้อาหารเยอะเกินไป และลดการให้ขนม ทั้งขนมประจำวันและขนมในการฝึก อีกปัจจัยหนึ่งคือการออกกำลังกาย โดยควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่อย่าหักโหมจนเกินไป ให้ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป นอกจากนี้ยังควรฝึกการวิ่งที่ถูกต้องให้สุนัข และพาไปเล่นกีฬาสุนัขเพื่อทำให้การออกกำลังกายไม่น่าเบื่อจนเกินไป

เลือก JOMO อาหารสุนัขเกรดพรีเมียมให้ได้ดูแลสุขภาพสุนัขของคุณ อาหารของเราทำจากโปรตีนคุณภาพอย่างเนื้อแกะออสเตรเลีย โดยไม่มีส่วนผสมของ by-product แม้แต่นิดเดียว ทำให้มั่นใจได้ว่า น้องหมาสุดที่รักของคุณจะปลอดภัยจากโรคภัยต่าง ๆ ทั้งโรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคกระดูกพรุนอย่างแน่นอน สั่งซื้อวันนี้ ส่งฟรีทั่วไทย สั่งผ่านเว็บครั้งแรกรับฟรี 50 JOMO points

สุนัขอ้วนดูยังไง?

สุนัขอ้วนจะมีชั้นไขมันอยู่บริเวณคอ แขนขาและกระดูกสันหลัง โดยเมื่อสัมผัสจะรู้สึกได้ว่าช่องท้องมีลักษณะป่องขึ้นมา

วิธีลดความอ้วนสุนัข ทำยังไง?

วิธีสามารถลดความอ้วนสุนัขได้ด้วยการควบคุมอาหาร ควบคุมปริมาณขนมที่ให้ในแต่ละวัน และพาสุนัขไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และถูกวิธีเพื่อป้องกันอันตราย

ความเสี่ยงของสุนัขอ้วน มีอะไรบ้าง?

สุนัขอ้วนมีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากมายเช่น มะเร็งหลายชนิด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ข้อเสื่อม และปัญหากระดูกและข้ออื่น ๆ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เหนื่อยง่าย