🐾 รับ JOMO Points ใช้แทนเงินสด ทุกการสั่งซื้อบนเว็บไซต์ แค่สมัครสมาชิก

ทำไมเกลือเค็ม ๆ ถึงอันตรายต่อสุขภาพแมว?

สรุปเค็มไปอันตราย! อย่าให้แมวกินเค็มเกิน

โซเดียมมีความจำเป็นต่อร่างกายแมว ช่วยในการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และควบคุมความดันเลือด โดยตามมาตรฐาน AAFCO อาหารแมวควรมีโซเดียมอย่างน้อย 0.2%

แต่ถ้าแมวกินเกลือมากเกินไป (3/4 ช้อนชาขึ้น) ในครั้งเดียวเจ้าแมวอาจช็อค ถ้ากินเค็มมากต่อเนื่อง ยาวนาน ก็จะส่งผลต่อร่างกาย ความดัน โรคหัวใจ และโรคไตได้

การให้แมวมีน้ำสะอาดที่เพียงพอ ไม่กินอาหารคน และเลือกอาหารแมวที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน AAFCO ใช้วัตถุดิบดี จึงเป็นวิธีให้ทาสสามารถดูแลเจ้าเหมียวง่ายๆ ได้ทุกวัน

JOMO ไม่เค็ม ไม่เติมเกลือ ได้มาตรฐาน AAFCO

ทำไมในอาหารแมวถึงต้องมีโซเดียม?

ถ้าพูดถึงความเค็ม เราจะรู้สึกว่ามากไปไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ความจริงแล้วเกลือและโซเดียมก็ยังเป็นส่วนหนึ่งในอาหารหลายชนิด และยังมีประโยชน์ในการทำงานตามปกติของร่างกาย

เกลือประกอบไปด้วยโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งมีส่วนในการช่วยควบคุมปริมาณเกลือแร่ ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยควบคุมความดันเลือด รวมไปถึงการช่วยในการทำงานของเซลล์

อย่างกฎของ AAFCO หรือองค์กรด้านอาหารสัตว์แห่งสหรัฐอเมริกา ก็ได้กำหนดมาตรฐานในการใส่โซเดียมในอาหารแมวไว้ สำหรับอาหารเม็ด ควรมีโซเดียมอย่างน้อย 0.2% ของอาหารทั้งหมด หรือ 0.5 กรัม ต่อ 1,000 แคลอรี

เลือกอาหารที่ดี เจ้าแมวก็เฮลตี้ได้ ทาสสบายใจ

หากคุณให้แมวกินแต่อาหารแมวสูตรมาตรฐาน มีคุณภาพ และไม่ได้ให้กินอาหารเหลือจากคน ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลปริมาณเกลือในร่างกายของแมว และแมวที่สุขภาพดีก็สามารถขับเกลือออกทางร่างกายกับปัสสาวะ แต่สำหรับแมวที่มีปัญหาเรื่องความดันสูง, เป็นโรคไต, เป็นโรคตับ หรือมีปัญหาเรื่องหัวใจ สัตวแพทย์ก็อาจให้ลดปริมาณเกลือในอาหารลง

🐾

อาหารแมวพรีเมียม JOMO ได้มาตรฐาน AAFCO โซเดียมต่ำ ไม่เติมเกลือเพิ่ม อร่อย เม็ดเล็กกินง่าย ได้ใจนายเหมียวทุกวัน ดูอาหารแมวใหม่ไฉไลกว่าเดิม

🐾

แมวกำลังจ้องมาบนโต๊ะอาหาร
Photo by Biel Morro on Unsplash

สำคัญ! อย่าลืมให้แมวกินน้ำช่วยได้

ถึงแม้การทานเกลือในปริมาณเล็กน้อยจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่ต้องอย่าลืมให้แมวกินน้ำในปริมาณที่เหมาะสม อย่าลืมเตรียมน้ำสะอาดไว้ให้เจ้าเหมียวตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน และถ้าหากรู้สึกว่าแมวไม่ค่อยกินน้ำ ให้ลองเอาชามน้ำวางไว้ตรงจุดที่เงียบ ห่างไกลคน อาจทำให้พวกเขาสบายใจ จนสามารถกินน้ำได้มากขึ้น

กินเค็มไปนาน ๆ ส่งผลต่อสุขภาพเจ้าเหมียว

การกินเกลือหรือกินเค็มมากไปเป็นเวลานาน ๆ นั้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพแมว โดยหากบริโภคเกลือมากเกินไปในระยะยาวจะส่งผลเสียเช่นแมวเกิดอาการความดันสูง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการของโรคหัวใจได้ และยังอาจส่งผลให้เกิดโรคไต เนื่องจากไตต้องทำงานหนักในการกรองโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย  ดังนั้นจึงต้องเลือกอาหารแมวที่ได้คุณภาพ และห้ามให้แมวกินอาหารคนโดยเด็ดขาด

🐾 ไม่เค็ม ไม่เติมเกลือ คือหัวใจหลักของอาหารแมว JOMO ที่คัดสรรวัตถุดิบอุดมคุณประโยชน์ จัดเต็มแร่ธาตุ วิตามิน ที่ช่วยบำรุงสุขภาพน้องเหมียว อร่อยง่าย ๆ แบบปลอดกลูเตน เจ้าเหมียวแพ้ง่ายก็กินได้

เค็มแค่ไหนถึงอันตรายกับเหมียว?

การกินเกลือปริมาณเล็กน้อยไม่เป็นอันตรายต่อแมวก็จริง แต่หากแมวเผลอกินเกลือในปริมาณมาก เช่น กินเกลือเข้าไปมากกว่า 4 กรัม (หรือประมาณ ¾ ช้อนชา) หรือกินอาหารที่มีเกลือในปริมาณมากอย่างมันฝรั่งทอด หรือทูน่าในน้ำเกลือนั้น อาจส่งผลถึงชีวิตได้ เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของแมวไม่สามารถดูดซึมเกลือในปริมาณมากได้และจะส่งผลให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติ

หากเกิดเหตุไม่คาดฝันให้ติดต่อสัตวแพทย์ทันที และเก็บบรรจุภัณฑ์ไว้เพื่อให้คุณหมอสามารถตรวจสอบปริมาณเกลือที่น้องแมวกินเข้าไป

สังเกตอาการผิดปกติ ดูยังไงเมือแมวกินเกลือมากเกินไป?

หากเจ้าเหมียวแค่แอบมาชิมเกลือ หรือกินอาหารเค็มในปริมาณเล็กน้อยก็ยังไม่ต้องกังวลอะไร ให้เจ้าของคอยสังเกตอาหารผิดปกติ อย่างอาการขาดน้ำ กินน้ำมากกว่าปกติ, การปัสสาวะที่ผิดปกติ และอาจมีอาการไม่อยากอาหาร, อาเจียน, ท้องเสีย, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, กล้ามเนื้อกระตุก, หัวใจเต้นเร็ว, ชัก, มึนงง, มีอาการผิดปกติ, โคม่า และอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งอาการนี้พบได้ภายในไม่กี่นาทีจนถึงหลักชั่วโมงหลังกินเกลือเข้าไป 

ดังนั้น ไม่ควรให้แมวกินอาหารคนโดยเด็ดขาด หากอยากให้แมวกินอะไรที่พิเศษ ก็ควรเลือกอาหารที่ผลิตมาสำหรับแมวโดยเฉพาะ หรืออาหารปรุงสุกที่ไม่เติมเกลือ ไม่เค็ม และไม่แช่น้ำเกลือ

รักษาอย่างไรหากแมวเผลอกินเกลือเข้าไป?

สำหรับเจ้าเหมียวที่ไม่ได้มีอาการอาเจียน สัตวแพทย์จะแนะนำให้แมวกินน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่อง ส่วนเคสที่กินเข้าไปมาก สัตวแพทย์จะประเมินอาการ โดยจะมีการเจาะเลือดเพื่อประเมินปริมาณเกลือในเลือด ส่วนการรักษาจะใช้การแอดมิต ให้น้ำเกลือ รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ติดตามปริมาณเกลือแร่ในร่างกายอย่างต่อเนื่อง และอาจให้ยากันชัก

DBD Registered