โรคหัดสุนัขเป็นโรคที่ไม่ค่อยคุ้นชื่อนัก แต่เมื่อน้องหมาสุดที่รักติดโรคนี้ขึ้นมาอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นอัมพาตและเสียชีวิตได้เลย แล้วเราจะป้องกันไม่ให้สุนัขติดโรคหัดได้อย่างบ้าง หากติดแล้วควรดูแลรักษาอย่างไร มาดูข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้หัดสุนัขแบบครบถ้วนได้ที่นี่
สาเหตุของโรคหัดสุนัข
โรคหัดสุนัขเกิดจากการติดไวรัสที่ชื่อ Canine Distemper Virus หรือ Paramyxovirus ติดกันได้จากการที่น้องหมาไปสัมผัสกับสารคัดหลั่งกับสัตว์ที่ป่วย เช่นปัสสาวะ, เลือด, น้ำลาย และสารคัดหลั่งอื่นๆ โดยติดจากการหายใจเป็นหลัก และอาจติดจากการกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค นอกจากน้องหมาจะสามารถติดโรคได้แล้ว เฟอร์เร็ต, แรคคูน, สกังก์, หมาเป่าเทา, แมวป่า ฯลฯ ก็สามารถติดโรคได้เช่นเดียวกัน โรคหัดสุนัขมีโอกาสเป็นได้ตลอดทั้งปี โดยสุนัขป่วยที่หายแล้วก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้นานนับเดือน และแม่หมาก็สามารถส่งต่อโรคให้ลูกในท้องได้ โดยเมื่อติดแล้วจะมีอาการดังนี้
อาการของโรคหัดสุนัข
น้องหมาจะมีอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบประสาทส่วนกลาง โดยอาจใช้เวลาถึง 14-30 วันในการแสดงอาการ ซึ่งเมื่อเริ่มมีอาการ หรือมีการพบปะกับสุนัขอื่นที่ติดโรคหัด ให้ไปพบแพทย์ทันที
อาการโดยทั่วไป
โดยทั่วไปน้องหมาจะมีอาการไข้, น้ำมูกไหล, มีขี้ตา, หมดแรง, จาม, ไอ, หายใจลำบาก, อาเจียน, ท้องเสีย, ไม่อยากอาหาร, ปอดบวม, ผิวหนังอักเสบ, มีอาการเจ็บปวด, จมูกและเท้าบวม ทำให้โรคหัดสุนัขนี้มีชื่อเล่นว่า Hard Pad Disease (โรคอุ้งเท้าแข็ง) ซึ่งอาการของโรคอาจเกิดแบบเบา หรือรุนแรงได้
อาการผิดปกติทางสมอง
การติดโรคอาจทำให้เกิดการอักเสบและอาการทางประสาท ซึ่งมักสับสนกับโรคพิษสุนัขบ้า แต่อาการหลักๆ ของโรคหัดสุนัขจะมีกล้ามเนื้อกระตุก, ชักกระตุกแบบเคี้ยวฟัน ลักษณะเฉพาะของโรคนี้, น้ำลายไหล, สั่นหัว, วิ่งวน, ตากระตุก, เป็นอัมพาต และชัก
กลุ่มเสี่ยงโรค
กลุ่มเสี่ยงโรคหัดสุนัขประกอบไปด้วย ลูกหมาอายุต่ำกว่า 4 เดือน ก่อนที่วัคซีนจะสร้างภูมิคุ้มกันได้เต็มที่ สุนัขที่ไม่ได้รับวัคซีน และสุนัขในสถานสงเคราะห์สัตว์ ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มอ่อนแอ ต้องดูแลทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยอย่างใกล้ชิด
วิธีการตรวจวิเคราะห์โรคหัดในสุนัข
เนื่องจากอาการของโรคคล้ายกับโรคอื่นๆ ในสุนัข เช่นโรคฉี่หนู, ไวรัสตับอักเสบ และการได้รับสารพิษ ทำให้สัตวแพทย์ต้องตรวจอย่างละเอียดว่าใช่โรคหัดสุนัขหรือไม่ โดยการเก็บตัวอย่างในลำคอ, จมูก, ตา, ฉี่ หรือเนื้อเยื่อไขกระดูก เพื่อตรวจหาการติดไวรัส รวมไปถึงตรวจหา DNA ของไวรัส
วิธีการรักษาเมื่อน้องหมาเป็นโรคหัด
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคหัดในสุนัขโดยเฉพาะ สัตวแพทย์จะแนะนำให้รักษาแบบประคับประคองและการรักษาตามอาการ เช่นยาปฏิชีวนะ, ยาแก้ปวด, ยากันชัก, การให้สารอาหารทางเส้นเลือด, ยาลดไข้ และการดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งการพาสุนัขไปพบแพทย์ทันทีหลังพบอาการจะช่วยให้น้องหมาฟื้นตัวได้ไว และหายขาดได้ หากพบแพทย์ช้าหรืออาการหนัก อาจทำให้น้องหมาเสียชีวิตได้
โรคหัดสุนัขอาจจะมีอาการเรื้อรัง ไม่หายขาด
เมื่อรักษาสุนัขตามอาการจนดีขึ้นแล้ว สุนัขบางตัวก็จะยังมีอาการทางประสาทอยู่ เช่น ชัก, กล้ามเนื้อกระตุก, ชักกระตุกแบบเคี้ยวฟัน, ระบบประสาทเสียหาย และสมองเสียหาย ซึ่งสัตวแพทย์ก็จะจ่ายยารักษาดูแลระบบภูมิคุ้มกัน ยาแก้อักเสบ สเตียรอยด์ ฯลฯ ให้ อย่างไรก็ดีอาการอาจไม่ได้เกิดขึ้นหลังรักษาเสร็จทันที อาจเกิดขึ้นหลังจากผ่านไปหลายปี
3 วิธีการป้องกันโรคหัดในสุนัข
ถึงแม้โรคหัดนี้อาจฟังดูเป็นโรคอันตราย แต่ก็สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ผ่าน 3 วิธีนี้
1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดให้น้องหมา
ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะช่วยให้น้องหมาห่างไกลโรค โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดสามารถเริ่มรับวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ และฉีดทุกๆ 3-4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ ซึ่งภูมิคุ้มกันจะอยู่นานถึง 3 ปี อย่างไรก็ดี สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนซ้ำตามอัตราการเกินโรคหัดในละแวกบ้าน
2. แยกสัตว์ป่วยออกจากกัน
หากเลี้ยงสุนัขหลายตัวและสงสัยว่าตัวหนึ่งอาจติดโรค ให้แยกออกจากสุนัขตัวอื่นๆ และนำไปพบแพทย์ทันทีที่แสดงอาการ โดยให้นำสุนัขตัวอื่นๆ ไปฉีดวัคซีนให้เรียบร้อย และล้างทำความสะอาดบริเวณที่สุนัขอาศัยให้สะอาด เท่านี้ก็จะช่วยป้องกันโรคหัดสุนัขได้เป็นอย่างดี
3. อยู่ดี กินดี ห่างไกลโรค
หากน้องหมาไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ ให้หลีกเลี่ยงการพบปะกับสุนัขป่วย หรือสัตว์อื่นๆ ที่อาจเป็นพาหะนำโรค โดยจัดอาหารสุขภาพและออกกำลังสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือต้องทำความสะอาดบริเวณที่สุนัขอยู่อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นหากจะส่งสุนัขไปฝากเลี้ยง หรือไปเจอกับสุนัขตัวอื่น ควรมั่นใจว่าสุนัขของเราปลอดภัย ไม่เป็นพาหะ
อาหารที่ดี ช่วยให้สุนัขแข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ เลือก Jomo ดูแลน้องหมาของคุณ ด้วยส่วนผสมคุณภาพอย่างเนื้อแกะออสเตรเลีย อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพ และมีโอลิโกแซคคาร์ไรด์ช่วยเสริมพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาท สั่งซื้อ JOMO วันนี้ ส่งฟรีทั่วไทย
สรุปเรื่องโรคหัดในสุนัข วิธีการดูแลน้องหมาเมื่อเจ็บป่วย และวิธีการป้องกัน
โรคหัดสุนัขนับเป็นโรคร้ายที่เจ้าของทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับสุนัข ซึ่งสามารถป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการฉีดวัคซีนตั้งแต่น้องหมาอายุครบ 6 สัปดาห์ และแยกสัตว์เลี้ยงที่ป่วยออกมา หากเกิดอาการป่วยแล้ว เช่น จมูกและเท้าบวม ชักกระตุกแบบเคี้ยวฟัน ฯลฯ ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ควรรีบนำไปพบแพทย์ทันที ซึ่งน้องหมาอาจหายดี 100% แต่ในบางตัวก็อาจมีอาการทางระบบประสาทในภายหลังเช่นชักกระตุก โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์หากพบอาการเรื้อรังต่างๆ
เตรียมสุขภาพน้องหมาของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลโรคภัย ด้วยอาหารสุนัขเกรดพรีเมี่ยมอย่าง JOMO ที่อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพจากเนื้อแกะออสเตรเลีย น้ำมันปลาแซลมอนที่อุดมไปด้วย Omega 3 และ Omega 6 มี โอลิโกแซคคาร์ไรด์ ที่ช่วยเสริมพัฒนาการทางสมอง และการทำงานของระบบประสาท สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ ส่งฟรีทั่วไทย และมีบริการส่งด่วน ฉับไวทันใจ
อาการชักกระตุกในโรคหัดสุนัขเป็นอย่างไร
การอักเสบและอาการทางประสาทในโรคหัดสุนัข อาจทำให้สับสนกับโรคพิษสุนัขบ้า แต่อาการหลักๆ ของโรคหัดสุนัขจะมีการชักกระตุกแบบเคี้ยวฟัน รวมไปถึงอาการบวมที่จมูกและอุ้งเท้า หากพบสองอาการนี้ ให้พบแพทย์ทันที
ลูกสุนัขมีความเสี่ยงเป็นโรคหัดสุนัขสูงกว่าสุนัขที่โตเต็มวัย
กลุ่มเสี่ยงของโรคนี้จะเป็นน้องหมาที่อายุต่ำกว่า 4 เดือน เพราะวัคซีนยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เต็มที่, สุนัขที่ไม่ได้รับวัคซีน และสุนัขในสถานสงเคราะห์สัตว์ ซึ่งเป็นกลุ่มอ่อนแอ ทั้งสามกลุ่มนี้ผู้ดูแลต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
ทำอย่างไรถ้าน้องหมาฉีดวัคซีนโรคหัดสุนัขไม่ได้
โรคหัดสุนัขสามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการรับวัคซีนตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ แต่สำหรับน้องหมาที่ปัญหาทางสุขภาพที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ เจ้าของก็ควรแยกห่างจากสัตว์ป่วยตัวอื่นๆ ดูแลให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือต้องทำความสะอาดบริเวณที่สุนัขอาศัย เพื่อป้องกันเชื้อโรค