หมาตาบวมแดงต้องทำอย่างไร สรุปทุกเรื่องพร้อมวิธีดูแลรักษา

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับน้องหมาสุดที่รัก เจ้าของก็ต้องมีความเป็นห่วงและกังวลอย่างแน่นอน โดยเฉพาะหากน้องหมาเกิดอาการตาบวมแดง ซึ่งอาจส่งผลร้ายต่อประสาทสัมผัสที่สำคัญอย่างดวงตาก็จะทำให้เจ้าของวิตกได้ แต่ไม่ต้องกลัว เพราะเราได้รวบรวมวิธีดูแลรักษาอย่างครบถ้วนมาไว้ในบทความนี้แล้ว รวมไปถึงคู่มือการดูแลความสะอาดให้โรคตาแดงห่างไกลน้องหมาที่รัก

วิธีรักษาน้องหมาตาบวมแดง

การรักษาอาการตาแดงในสุนัขนั้นจะรักษาที่สาเหตุซึ่งทำให้ตาแดง โดยใช้ยารักษาเฉพาะที่และยากิน ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะ ยาป้ายตา ยาแก้อักเสบ และอื่น ๆ ตามอาการ ดังนี้

การรักษาโรคภูมิแพ้ขึ้นตา

 สำหรับอาการตาแดงจากภูมิแพ้จะได้รับยาหยอดตาหรือยาป้ายตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ โดยอาจได้รับยาสเตียรอยด์แบบกินและยาแก้แพ้หากเกิดภาวะอักเสบ 

การรักษาเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากไวรัส

หากน้องหมาเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากไวรัส จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาและกินสารต้านอนุมูลอิสระเข้าไปเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจมียาต้านไวรัสด้วย 

การรักษาเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากแบคทีเรีย

สำหรับสุนัขที่เยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียจะได้รับยาปฏิชีวนะแบบใช้เฉพาะที่ ยาปฏิชีวนะแบบกิน และยาแก้อักเสบ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ

การรักษาอาการตาแดงเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ 

สุนัขที่มีอาการตาแห้งจะได้รับยากระตุ้นการสร้างน้ำตา สุนัขที่มีอาการเปลือกตาม้วนเข้าหรือม้วนออก รวมไปถึงสุนัขที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตาจะมีการผ่าตัดเพื่อแก้ไข ส่วนสุนัขที่มีอาการท่อน้ำตาตันจะได้รับการผ่าตัด ยาหยอดตาและยาปฏิชีวนะ โดยหลังการรักษาสุนัขจะต้องใส่คอลลาร์เพื่อป้องกันดวงตาและให้แผลหายดีก่อน ซึ่งสุนัขจะสามารถหายจากโรคตาแดงได้ แต่สำหรับโรคตาแดงที่เกิดจากโรคเรื้อรังอื่น ๆ หรือมีอาการรุนแรงอาจต้องใช้เวลานานในการรักษา และอาจมีแผลที่ดวงตารวมถึงอาการมองไม่ชัด ซึ่งสำหรับโรคตาแห้งรวมไปถึงโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันจะต้องรักษาแบบประคับประคองไปตลอดชีวิต 

เลือกอาหารสุนัข JOMO ที่มีส่วนผสมของยัคคา ช่วยลดกลิ่นตัว อุจจาระ และคราบน้ำตา ลดความเสี่ยงที่ทำให้น้องหมาติดเชื้อจากอาการตาแฉะ สั่งซื้อวันนี้ส่งฟรีทั่วประเทศไทย

สุนัขสีขาวดำตัวมอมแมมยืนอยู่บนพื้นคอนกรีต
Photo by Kat Damant on Unsplash

สาเหตุที่ทำให้หมาตาบวมแดง

อาการตาบวมแดงในสุนัข หรือ Conjunctivitis คืออาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับเยื่อบุตา เป็นบริเวณที่อ่อนนุ่มเหมือนกับปากและจมูก ซึ่งสำหรับสุนัขเยื่อบุตาจะเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกตาที่ 3 และมีหน้าที่เป็นปราการป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าสู่ดวงตาได้  โดยปกติแล้วจะมีสีขาวซีด แต่เมื่อมีอาการอักเสบเมื่อไหร่ เนื้อเยื่อจะกลายเป็นสีแดงและบวม ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอาการตาบวมแดงมีดังนี้

โรคภูมิแพ้ขึ้นตา

สุนัขทุกตัวมีโอกาสเป็นโรคตาแดงได้ แต่มักพบบ่อยในสุนัขที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งจะมีอาการไวต่อสิ่งกระตุ้นในสิ่งแวดล้อม โดยมักเกิดขึ้นในสุนัขวัยหนุ่ม สุนัขอาจได้รับการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้เช่นฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ รา ไร น้ำหอม แชมพู อาหารชนิดต่าง ๆ และภาวะภูมิแพ้กรรมพันธุ์

เยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากไวรัส

สุนัขอาจเกิดอาการเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากไวรัสได้หากไปติดเชื้อไวรัสที่ทำให้ตาอักเสบ โดยไวรัสนี้มักจะติดต่อได้ง่ายและใช้เวลารักษากว่า 3-4 สัปดาห์ นี่รวมไปถึงโรคไข้หัดสุนัข และโรคเริมในสุนัข 

โรคเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากแบคทีเรีย

อาการเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากแบคทีเรียพบได้ไม่บ่อย จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะพบในสุนัขพันธุ์ไหน อายุเท่าไหร่ หรือเพศอะไร ซึ่งอาการนี้มักเป็นการติดเชื้อต่อเนื่องจากโรคที่เป็นอยู่แล้ว (การติดเชื้อทุติยภูมิ) โดยจะมีอาการอย่างตาแห้ง ปัญหาเกี่ยวกับเปลือกตา แผลที่กระจกตา ซึ่งชนิดที่มักก่อให้เกิดโรคนี้คือสแตปฟิโลคอคคัสและสเตรปโตคอคคัส ที่เป็นชนิดที่ติดต่อได้ง่ายในสุนัข

สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้สุนัขตาบวมแดง

นอกจาก 3 โรคหลัก ๆ ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุที่ทำให้สุนัขตาแดง เช่น

  • การติดเชื้อ อย่างเช่นโรคไข้หัดสุนัข 
  • โรคความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่นภูมิแพ้ โรคตุ่มน้ำพอง
  • เนื้องอกบริเวณเปลือกตาและเยื่อบุตา
  • อาการผิดปกติที่เป็นกรรมพันธุ์ในสายพันธุ์นั้น ๆ 
  • โรคตาแห้ง
  • โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของเปลือกตา เช่นเปลือกตาม้วนเข้า หรือเปลือกตาม้วนออก
  • มีสิ่งอุดตันบริเวณท่อน้ำตา ซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ อักเสบได้
  • มีอาการบาดเจ็บที่ดวงตาจากสิ่งแปลกปลอม ควัน ฯลฯ
  • โรคตาอื่น ๆ เช่นกระจกตาอักเสบ ม่านตาอักเสบ และต้อกระจก
  • การติดเชื้อปรสิต (ไม่ค่อยพบ)
สุนัขสีน้ำตาลเงยหน้ามอง
Photo by Simon Robben

อาการน้องหมาตาบวมแดง

อาการเยื่อบุตาอักเสบนี้เป็นอาการที่ทำให้น้องหมารู้สึกเจ็บ คัน รำคาญ เหมือนโดนผาที่บริเวณดวงตา โดยจะมีพฤติกรรมดังนี้

  • เอาขาหน้าเกาตา หรือเอาตาถูกับพรม
  • กระพริบตาถี่ ๆ หรือหรี่ตา เพื่อให้รู้สึกสบายตามากขึ้น
  • ตาขาวขุ่น อาจมีขี้ตาออกมาจากนัยน์ตาขาว โดยสีใส ขาว หมายถึงเกิดจากอาการภูมิแพ้ และเหลือง เขียวหมายถึงอาการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • บริเวณรอบ ๆ ดวงตาเปลี่ยนเป็นสีแดง และมีอาการบวม
  • ขนรอบดวงตาร่วง
  • มีน้ำมูก จาม
  • ไอ
  • อ่อนเพลีย

อาการนี้มักเริ่มที่ดวงตาข้างเดียว ก่อนลามไปยังอีกข้างด้วยการติดเชื้อ แต่หากเป็นอาการภูมิแพ้หรือติดเชื้อไวรัส จะสามารถเป็นได้ทั้งสองข้างพร้อมกัน หากสุนัขเริ่มมีอาการข้างต้น ให้ติดต่อสัตวแพทย์ทันที การปล่อยให้น้องหมาตาบวมแดง อาจหมายถึงการสูญเสียการมองเห็นถาวรได้

ซึ่งอาการตาบวมแดงในสุนัขยังอาจหมายถึงอีกหลากหลายโรค อย่างอาการตาขุ่น เป็นฝ้าขาว ซึ่งสุนัขอาจเป็นโรคต้อหิน ตาแห้ง หรือม่านตาอักเสบหากมีอาการตาแดงร่วมด้วย 

เลือก JOMO ให้ดูแลดวงตาสุนัขของคุณ กับอาหารสูตรพิเศษที่ช่วยจัดการปัญหาคราบน้ำตาในน้องหมาพันธุ์เล็ก หรือพันธุ์ตาโปนได้อยู่หมัด ด้วยส่วนผสมจากยัคคา พืชธรรมชาติที่ช่วยลดคราบน้ำตา กลิ่นตัวและกลิ่นอุจจาระได้ เพียงเท่านี้หน้าต่างของหัวใจสุนัขก็จะสดใสและปลอดภัยจากโรคที่มาพร้อมคราบน้ำตาด้วย คลิกสั่งซื้อที่นี่ ส่งฟรีทั่วไทย

สุนัขสีขาวดำใส่แว่นตาสีแดง 
Photo by Ilargian Faus

วิธีการวินิจฉัยตาแดงในสุนัข

การวินิจฉัยโรคตาแดงในสุนัขแบ่งออกเป็นสองส่วนคือเป้าหมายของการวินิจฉัยและการตรวจตา ดังนี้

เป้าหมายของการวินิจฉัยอาการตาแดง

เป้าหมายของการวินิจฉัยโรคตาแดงในสุนัขคือเพื่อแยกแยะว่าอาการนี้เกิดจากอะไรกันแน่ ผ่านการวินิจฉัยว่า

  • สุนัขมีโรคอื่น ๆ ที่ตาหรือไม่
  • สุนัขมีอาการบาดเจ็บที่ตาหรือไม่
  • อาการนี้อาจเกิดจากอาการภูมิแพ้
  • อาการตาแดงนี้เกี่ยวข้องกับนัยน์ตาขาวหรือไม่

การตรวจตาสุนัข

​โดยการวินิจฉัยโรคจะต้องมีการตรวจตาอย่างครบถ้วนและละเอียด ขึ้นอยู่กับอาการที่สัตวแพทย์สงสัยว่าสุนัขอาจกำลังเผชิญ ประกอบไปด้วย

  • การตรวจโครงสร้างของลูกตา
  • ใช้กระดาษทดสอบน้ำตา (Schirmer Tear Test) สำหรับวัดปริมาณน้ำตา 
  • การตรวจกระจกตาเพื่อทดสอบว่ากระจกตาไม่ได้มีอาการบาดเจ็บหรืออักเสบ 
  • การวัดความดันลูกตาเพื่อตรวจโรคต้อหินหรือม่านตาอักเสบ การผ่าตัดเพื่อวินิจฉัย และการตรวจภูมิแพ้
  • การตรวจอื่น ๆ เช่นการล้างท่อน้ำตา การตรวจเพาะเชื้อแบคทีเรีย อุลตราซาวนด์ เป็นต้น
สุนัขสีน้ำตาลนอนทำตาแป๋ว
Photo by Ryk Porras on Unsplash

ดูแลให้น้องหมาห่างไกลโรคตาบวมแดงในสุนัข

สามารถดูแลป้องกันไม่ให้น้องหมามีอาการตาบวมแดงซ้ำอีก ดังนี้

การป้องกันไม่ให้สุนัขมีอาการภูมิแพ้

โรคนี้จำเป็นต้องป้องกันไม่ให้สุนัขได้รับสารก่อภูมิแพ้อย่างควัน น้ำหอม ฝุ่น ฯลฯ โดยอาจต้องเริ่มจากการไปตรวจว่าสุนัขแพ้อะไรแล้วทำการหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นให้ได้มากที่สุด ถ้าสุนัขมีอาการแพ้ฝุ่นหรือละอองเกสร อาจต้องนำสุนัขเข้าบ้านตลอดเวลาและใช้เครื่องฟอกอากาศ ทำการป้องกันเห็บหมัด ดูแลบริเวณที่อยู่อาศัยให้สะอาด และสอบถามเรื่องอาหารกับคุณหมอทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนอาหาร

ป้องกันการติดเชื้อจากสุนัขตัวอื่น

เนื่องจากการป้องกันการติดเชื้อในสุนัขทำได้ค่อนข้างยาก จึงควรให้สุนัขฉีดวัคซีนประจำปีอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะวัคซีนโรคไข้หัดสุนัข จากนั้นต้องทำการแยกสุนัขที่ติดเชื้อออกจากสุนัขตัวอื่นอย่างเคร่งครัด สำหรับสุนัขที่พบปะสุนัขตัวอื่นเป็นประจำ เจ้าของควรทำการล้างอุ้งเท้าและใบหน้าทุกครั้งที่กลับเข้าบ้าน และเจ้าของต้องอย่าลืมล้างมือบ่อย ๆ หลังคลุกคลีกับสุนัขไม่ว่าจะเป็นการจับตัวสุนัข จับชามข้าวหมา จับของเล่น และอื่น ๆ สุขอนามัยที่ดีช่วยป้องกันการติดเชื้อได้

ตรวจดวงตากับสัตวแพทย์อย่างต่อเนื่อง

สำหรับน้องหมาที่เคยมีอาการ ควรนัดพบกับสัตวแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจดวงตาว่าแผลหายสนิทหรือยัง และจะต้องเปลี่ยนวิธีการรักษาหากวิธีเดิมไม่ได้ผล นอกจากนี้ยังอาจต้องพบจักษุแพทย์สำหรับสุนัข หรือผิวหนังหากสุนัขมีอาการแย่ลง

ล้างตาน้องหมา

สามารถช่วยล้างตาน้องหมาเพื่อให้สุนัขสบายตามากขึ้น แต่อย่าลืมว่านี่ไม่ได้ช่วยรักษา เจ้าของต้องให้ยากินและยาป้ายอย่างเคร่งครัด โดยสามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดดวงตามาล้างตาน้องหมาวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อล้างเอาขี้ตา ฝุ่น ละอองเกสรและคราบต่าง ๆ ออกจากดวงตา ที่สำคัญคือต้องอยู่ภายในคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรทำเองโดยเด็ดขาด

สรุปเรื่องหมาตาบวมแดง

มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้สุนัขตาบวมแดง โดยหลัก ๆ คือโรคภูมิแพ้ขึ้นตา โรคเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากไวรัส และโรคเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากแบคทีเรีย ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้บ่อยเช่น การติดเชื้อโรคไข้หัดสุนัข โรคความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เนื้องอกบริเวณเปลือกตาและเยื่อบุตา อาการผิดปกติที่เป็นกรรมพันธุ์ในสายพันธุ์นั้น ๆ  โรคตาแห้ง โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของเปลือกตา เช่นเปลือกตาม้วนเข้า หรือเปลือกตาม้วนออก สิ่งอุดตันบริเวณท่อน้ำตา และโรคตาอื่น ๆ โดยอาการตาบวมแดงมีดังนี้ เอาขาหน้าเกาตา หรือเอาตาถูกับพรม กระพริบตาถี่ ๆ หรือหรี่ตา ตาขาวขุ่น มีขี้ตาออกมาจากนัยน์ตาขาว ดวงตาเปลี่ยนเป็นสีแดง และมีอาการบวม สัตวแพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุของโรค และอาจมีการใช้วิธีตรวจเช่นการตรวจโครงสร้างของลูกตา ใช้กระดาษทดสอบน้ำตา (Schirmer Tear Test) สำหรับวัดปริมาณน้ำตา ตรวจกระจกตาเพื่อทดสอบว่าไม่ได้มีอาการบาดเจ็บหรืออักเสบ วัดความดันลูกตาเพื่อตรวจโรคต้อหินหรือม่านตาอักเสบ การผ่าตัดเพื่อวินิจฉัย การตรวจภูมิแพ้ และการตรวจอื่น ๆ สำหรับยาและการรักษาจะเป็นตามอาการ เช่นยาป้ายตา ยาหยอดตา ยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบ เป็นต้น เจ้าของสามารถดูแลน้องหมาให้ห่างไกลจากโรคตาบวมแดงได้โดยการป้องกันไม่ให้สุนัขเกิดอาการภูมิแพ้ ป้องกันการติดเชื้อจากสุนัขตัวอื่น ตรวจดวงตากับสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมอและเช็ดตาน้องหมา (ภายใต้คำแนะนำของสัตวแพทย์)

ที่ JOMO เราเลือกส่วนผสมในอาหารและขนมสุนัขอย่างพิถีพิถัน อาหารสุนัขเกรดพรีเมียม JOMO มีส่วนผสมของยัคคา ที่ช่วยลดคราบน้ำตาและกลิ่นตัว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในดวงตาเมื่อน้องหมาตาแฉะ พร้อมโปรตีนสูง 23% ด้วยโปรตีนหลักจากเนื้อแกะออสเตรเลีย สั่งซื้อสุขภาพที่ดีให้กับสุนัขได้แล้ววันนี้ ที่นี่

วิธีรักษาสุนัขตาแดงต้องทำอย่างไร?

การรักษาอาการตาแดงในสุนัขนั้นจะรักษาที่สาเหตุซึ่งทำให้ตาแดง โดยใช้ยารักษาเฉพาะที่และยากิน ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะ ยาป้ายตา ยาแก้อักเสบ และอื่น ๆ 

ทำไมสุนัขถึงตาบวมแดง?

อาการตาแดงในสุนัขคือการอักเสบที่เกิดบริเวณเยื่อบุตา โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อย่างเช่นโรคไข้หัดสุนัข โรคความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เนื้องอก อาการผิดปกติที่เป็นกรรมพันธุ์ในสายพันธุ์นั้น ๆ โรคตาแห้ง โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของเปลือกตา สิ่งอุดตันบริเวณท่อน้ำตา อาการบาดเจ็บที่ดวงตาจากสิ่งแปลกปลอม และ โรคตาอื่น

วิธีดูแลสุนัขตาบวมแดงทำยังไง?

หลังจากพาน้องหมาที่มีอาการตาบวมแดงไปพบสัตวแพทย์แล้ว เจ้าของต้องทำการให้ยาไม่ว่าจะเป็นยาหยอดตา ยาป้ายตา หรือยากิน อย่างครบถ้วนตามอาการ ดูแลความสะอาดของสุนัขและตัวเอง รวมไปถึงการล้างตาสุนัขตามที่สัตวแพทย์แนะนำ

การดูแลป้องกันไม่ให้สุนัขมีอาการตาบวมแดงทำยังไง?

การป้องกันไม่ให้สุนัขมีอาการตาบวมแดงนั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเกิดได้หลายสาเหตุ แต่หลัก ๆ ควรป้องกันไม่ให้สุนัขเจอกับสารก่อภูมิแพ้ ป้องกันไม่ให้สุนัขอยู่ใกล้ชิดสุนัขตัวอื่น โดยเฉพาะตัวที่ติดเชื้อ ทำการล้างใบหน้าและอุ้งเท้าของสุนัขทุกครั้งหลังไปเล่นข้างนอก สำหรับสุนัขที่เคยเป็นโรคนี้แล้ว อย่าลืมพบสัตวแพทย์เป็นประจำตามนัด และล้างตาน้องหมาตามที่สัตวแพทย์สั่ง