รับมืออย่างไร เมื่อน้องหมาแสนรักเป็น “โรคเรื้อนสุนัข”

ปัญหาโรคผิวหนังในสุนัขนั้นเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหากวนใจอันดับต้น ๆ ของเจ้าของเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะทำให้ขนสวย ๆ ของน้องหมาแสนรักหลุดร่วง ดูไม่น่ารักแล้วยังสร้างความรำคาญเพราะความไม่สบายตัวให้กับสุนัขอีกด้วย โดยสำหรับโรคผิวหนังในสุนัขที่พบมากที่สุดเลยก็คงหนีไม่พ้น “โรคเรื้อนสุนัข” หรือ “โรคไรขี้เรื้อน” วันนี้เราเลยจะพาทุกคนมารู้จักกับโรค นี้กันพร้อมกันกับวิธีการรับมือเพื่อปกป้องน้องหมาของเรากันค่ะ

ทำความรู้จักกับ “โรคเรื้อนสุนัข” หรือ “โรคไรขี้เรื้อน”

ลักษณะของสุนัขที่เป็นโรคเรื้อน
ลักษณะของสุนัขที่เป็นโรคเรื้อน

โรคเรื้อนสุนัข คือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากปรสิตภายนอกอย่าง ตัวไร (Mite) โดยสามารถแบ่งได้เป็นสองชนิดด้วยกันคือ ไรขี้เรื้อนซาร์คอพเตส (Sarcoptes scabiei) ที่ก่อให้เกิดโรคไรขี้เรื้อนแห้ง และอีกหนึ่งชนิดก็คือ  ไรขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์ (Demodex canis) ก่อให้เกิดโรคไรขี้เรื้อนเปียก ทั้งสองชนิดนี้จะมีสาเหตุ หรือความแตกต่างกันอย่างไรเราลองไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

โรคไรขี้เรื้อนแห้ง (Sarcoptic Mange)

ตัวไรขี้เรื้อนแห้งฝั่งอยู่ใต้ผิวหนัง

สาเหตุ และอาการของโรคไรขี้เรื้อนแห้ง

สำหรับโรคไรขี้เรื้อนแห้งนั้นเกิดจากตัวไรขี้เรื้อนซาร์คอพเตส (Sarcoptes scabiei) โดยตัวไรชนิดนี้มักจะอาศัยอยู่ตามขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก ตัวไรจะขุดผิวหนังชั้นนอกเป็นโพรงเพื่อวางไข่ และกินเศษผิวหนังเป็นอาหาร ส่งผลให้ผิวหนังของน้องหมาเกิดอาการระคายเคือง และคันยุบยิบตามผัวหนังตลอดเวลา และอาจส่งผลให้น้องหมาของเราเกิดภาวะเครียดจนเบื่ออาหาร และเจ็บป่วยได้เลยทีเดียว 

นอกจากนี้ในสุนัขบางตัว หากไม่ได้รับการรักษา และปล่อยทิ้งไว้ ยิ่งน้องหมาเกาเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ผิวหนังอักเสบ ขนร่วง ตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ร่วมได้ด้วย

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไรขี้เรื้อนแห้ง

วิธีการสังเกตเบื้องต้นเราสามารถดูได้จากการที่น้องหมาเกาและกัดขบตามผิวหนังบ่อยมากๆ เริ่มมีอาการขนร่วง โดยเฉพาะตามขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก และเริ่มมีอาการอักเสบ ขนร่วง ตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้ให้รีบนำไปปรึกษาสัตวแพทย์และขูดผิวหนังชั้นนอกเพื่อตรวจหาไข่ หรือตัวไรที่เกาะอยู่ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับน้องหมาชั่วคราวเพราะโรคขี้เรื้อนแห้งสามารถติดคนได้ นั่นเองค่ะ

โรคไรขี้เรื้อนเปียก (Demodectic Mange)

ตัวไรขี้เรื้อนเปียกเมื่อส่องจากกล้องจุลทรรศน์
ตัวไรขี้เรื้อนเปียกเมื่อส่องจากกล้องจุลทรรศน์

สาเหตุ และอาการของโรคไรขี้เรื้อนเปียก

สำหรับโรคไรขี้เรื้อนเปียก นั้นเกิดจากตัวไรขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์ (Demodex canis) ที่อาศัยอยู่ตามรูขุมขน ๆ บริเวณใบหน้า หัว รอบตา ลำตัว ขา ฝ่าเท้า และอุ้งเท้า คอยอาศัยไขมันและส่วนประกอบของชั้นผิวหนังกินเป็นอาหาร ส่งผลให้ผิวหนังมีอาการขนร่วง มีเม็ดตุ่มหนอง ผิวหนังเยิ้มแฉะ ดูเหมือนผิวเปียก ๆ ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีแผลหลุมที่ผิวหนัง ทำให้มีกลิ่นตัว เกิดรูขุมขนอักเสบตามมาในที่สุด ในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ด้วยการติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์ทำให้เกิดการเจ็บป่วยอื่น ๆ ตามมา อาทิ รูปร่างผอมลงเพราะเบื่ออาหาร ซึม น้ำหนักลด หรือมีไข้ เป็นต้น 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไรขี้เรื้อนเปียก

น้องหมาจะมีอาการคัน ตุ่ม ผื่นแดงส่วนใหญ่โดยสามารถแบ่งสังเกตลักษณะอาการได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ “แบบเฉพาะที่” คือมักจะเกิดเป็นหย่อม ๆ ที่บริเวณใบหน้า หัว รอบตาไม่เกิน 3-5 ตำแหน่ง และแบบ “แบบกระจายทั่วตัว” บริเวณใบหน้า หัว รอบตา ลำตัว ขา ฝ่าเท้า และอุ้งเท้า กระจายเป็นบริเวณกว้าง หากน้องหมามีอาการเล่านี้ให้พาไปหาสัตวแพทย์เพื่อขูดตรวจผิวหนังชั้นลึก เพื่อตัวไรขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์ วิธีนี้อาจทำให้น้องหมามีเลือดไหล แต่ว่าไม่เป็นอันตรายต่อน้องหมาแน่นอนค่ะ

วิธีรักษาโรคเรื้อนสุนัขอย่างไรให้หายขาด!

ถึงแม้ไรขี้เรื้อนทั้งสองชนิดนี้ถึงจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่สิ่งที่เหมือนกันเลยคืออาการขนร่วง คัน ระคายเคืองผิวหนัง สร้างความไม่สบายตัวให้กับน้องหมาเป็นที่สุด ดังนั้นเราลองมาเรียนรู้วิธีการรักษาโรคเรื้อนสุนัขชนิดกันว่าจะมีวิธีรับมือ และรักษาอย่างไรให้หายขาดบ้าง

1.ใช้ยารักษาเรื้อนสุนัข

สุนัขขนสวยงามหลังได้รับการรักษาโรคเรื้อน

วิธีการรักษาที่ช่วยได้มากที่สุดคือการใช้ยาในการรักษานั่นเองค่ะ สำหรับวิธีการรักษาของโรคขี้เรื้อนทั้งสองแบบนั้นสามารถทำได้หลายวิธี โดยวิธีการรักษามีรายละเอียดดังนี้

  • ใช้ยาฆ่าไรขี้เรื้อนผสมน้ำอาบ : โดยเลือกที่มีส่วนผสมของ Benzoyl peroxide หรือ Chlorhexidine แล้วฟอกที่บริเวณที่เป็นรอยทิ้งไว้นาน 5-10 นาที สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง 
  • ใช้ยาพ่น : Amitraz หรือยาทาอย่าง Lime sulfur โดยให้ตัดขนให้สั้นก่อน เพื่อให้ยาซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น ควรสวมปลอกคอกันเลีย เพื่อป้องกันน้องหมาเลียรับเอาสารพิษจากยาเข้าสู่ร่างกาย
  • ใช้ยาชนิดหยอดหลัง : ป้องกันเห็บ หมัดและไรเพื่อป้องกัน และกำจัดตัวไรที่ติดอยู่ตามขนและผิวหนังทุก ๆ 1-2 สัปดาห์
  • ใช้ยาชนิดรับประทาน : อย่าง Milbemycin, Afoxolaner , Fluralaner และ Sarolaner ให้น้องหมา วันละครั้ง โดยควรปรึกษาสัตวแพทย์ถึงวิธีการและปริมาณในการใช้
  • ช้ยาชนิดฉีด :  อย่าง Ivermectin ทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ โดยควรให้สัตวแพทย์เป็นผู้ฉีด และห้ามใช้ในสุนัขบางพันธุ์ที่มีความไวต่อยาสูง และมีความเสี่ยงต่อการแพ้ยาได้ง่าย

การจะเลือกวิธีการรักษาอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับ บริเวณที่พบ จำนวนตำแหน่งที่เป็น และ ความรุนแรงของโรค ดังนั้นเพื่อน ๆ ควรปรึกษากับสัตวแพทย์ เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับน้องหมาของเราค่ะ อย่างไรก็ตามหลังจากใช้ยารักษาจนหายแล้ว ก็ควรหมั่งสังเกตอย่างสม่ำเสมอ และพาไปตรวจบ่อย ๆ เพราะถึงแม้น้องหมาจะหายจากโรคขี้เรื้อนแล้ว แต่โรคไรขี้เรื้อนมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำอีกภายในระยะเวลา 1 ปี 

2. รักษาความสะอาดด้วยการอาบน้ำ และตัดขนบ่อย ๆ

สุนัขที่เป็นโรคเรื้อนกำลังถูกตัดขนเพื่อรักษาความสะอาด

เมื่อเราทราบว่าน้องหมาของเราเป็นโรคขี้เรื้อนแล้ว นอกจากจะใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย การรักษาความสะอาดของผิวหนังน้องหมาอย่างการตัดขน อาบน้ำบ่อย ๆ ก็เป็นสิ่งที่จะช่วยกำจัดไรขี้เรื้อน ยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย และยีสต์สะสมที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ติดเชื้อ ลดอาการขนร่วง และกลิ่นตัวไม่พึงประสงค์ในสุนัขด้วย นอกจากนี้การตัดขนให้สั้นที่สุดบริเวณที่เป็นรอยโรคยังช่วยให้ตัวยาที่ใช้ในการรักษาซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

3. บำรุงด้วยอาหารและโภชนาการที่ดี

ให้อาหารที่มีโภชนาการที่ดีช่วยรักษารอยเรื้อนสุนัข

ใช้ตัวช่วยดี ๆ อย่างยารักษา และรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันแล้ว ก็อย่าลืมบำรุงผิวของน้องหมาแสนรักด้วยอาหารและโภชนาการที่ดีด้วย โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับสุนัขเป็นโรคเรื้อน คืออาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต เจ้าของควรเปลี่ยนมาให้อาหารที่มีโปรตีนสูงแทนเพราะในโปรตีนมีกรดอะมิโน ที่ช่วยในการบำรุง ซ่อมแซมและรักษาผิวหนัง กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่นๆ ได้เป็นอย่างดี 

วิธีช่วยบรรเทาอาการคันสำหรับสุนัขที่เป็นโรคเรื้อน

นอกจากการรักษาด้วยยาแล้วเราสามารถใช้วิธีบ้าน ๆ ได้ด้วยช่วยบรรเทาอาการคันได้ด้วย อย่างการใช้นำ้มันมะพร้าว, โยเกิร์ตรสธรรมชาติ (ไม่ควรใช้กับลูกสุนัข), ว่านหางจระเข้ (ควรระวังไม่สุนัขเลียเนื่องจากเป็นพิษ), แอปเปิ้ลไซเดอร์ เวนิกาผสมน้ำอย่างละครึ่ง, ถุงชาคาโมมายล์ และข้าวโอ๊ต โดยนำมาทาบาง ๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการคัน และลดอาการอักเสบของผิวหนัง 

วิธีป้องกันโรคเรื้อนสุนัขอย่างไรให้ได้บ้าง

แม้จะไม่มีวิธีการป้องกันโรคเรื้อนสุนัข ที่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราก็สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการระมัดระวังไม่พาสุนัขไปในสถานที่ หรือปะปนสัตว์ที่มีตัวไรขี้เรื้อน นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ยาหยดหลังป้องกันเห็บ หมัด ไรขี้เรื้อนเพื่อป้องกันเพิ่มเติมได้ด้วย

ดูแลและป้องกันโรคเรื้อนในสุนัขด้วยอาหาร

มาถึงตอนนี้เพื่อน ๆ ทุกคนคงจะพอทราบสาเหตุและการรับมือกับโรคเรื้อนสุนัขกันแล้วใช้มั้ยคะ อย่างที่เรากล่าวกันไปกันแล้วว่านอกจากการรักษาอย่างตรงจุด และการรักษาความสะอาดให้กับสุนัขแล้ว การให้อาหารที่มีประโยชน์ และมีโปรตีนสูงก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยทาง JOMO ก็มีผลิตภัณฑ์ อาหารสุนัขเกรดพรีเมียม ที่มีแหล่งโปรตีนหลักมาจากเนื้อแกะออสเตรเลีย โปรตีนถึง 23% ไม่มีกลูเตนที่ก่อให้เกิดการแพ้  อีกทั้งยังมีส่วนผสมที่เป็นน้ำมันปลาแซลมอนที่อุดมไปด้วย Omega 3 และ Omega 6 ช่วยบำรุงให้น้องหมากลับมามีสุขภาพผิว และขนที่ดีอีกครั้ง

โรคเรื้อนสุนัขเกิดจากสาเหตุจากอะไร?

มีสาเหตุเกิดจากตัวไร (Mite) ซึ่งเป็นปรสิตภายนอกที่อาศัยอยู่ตามผิวหนัง สามารถแบ่งได้เป็นสองชนิด คือ ไรขี้เรื้อนซาร์คอพเตส (Sarcoptes scabiei) ก่อให้เกิดโรคไรขี้เรื้อนแห้ง และอีกหนึ่งชนิดคือ ไรขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์ (Demodex canis) ก่อให้เกิดโรคไรขี้เรื้อนเปียก

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขหายจากโรคไรขี้เรื้อนแล้ว?

โรคไรขี้เรื้อนมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำอีกภายในระยะเวลา 1 ปี ดังนั้นจึงควรหยดยาป้องกันไร เห็บหมัด รักษาความสะอาด และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ

โรคเรื้อนสุนัขติดคนได้มั้ย?

สำหรับโรคขี้เรื้อนเปียกนั้นไม่สามารถติดต่อสู่คนได้ แต่โรคขี้เรื้อนแห้งสามารถติดคนได้ โดยจะมีลักษณะเป็นเม็ดตุ่มแดงๆ ขึ้นบนผิวหนัง มีอาการคัน และสามารถกระจายไปตามผิวหนังได้ ซึ่งถ้ามีอาการเช่นนี้ให้รีบไปหาแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าน้องหมาของเราป่วยเป็นโรคนี้ ควรหยุดกอดและคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงชั่วคราวจนกว่าน้องหมาจะหายดีค่ะ