สุนัขท้องกี่เดือน?
เจ้าของหลายคนที่เลี้ยงน้องหมาตัวเมียอาจเคยมีข้อสงสัยกันบ้าง ว่าสุนัขของตัวเองมีการตั้งท้องหรือเปล่า? ถ้าใช่แล้วสุนัขท้องกี่เดือนกันนะ? แต่ละช่วงของการตั้งครรภ์เป็นยังไงบ้าง? แล้วจำเป็นต้องพาน้องหมาไปฝากท้องกับคุณหมอหรือเปล่า? โดยเฉพาะกับเจ้าของมือใหม่ที่เพิ่งรับน้องหมามาดูแลอาจยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องการตั้งท้อง การสังเกตอาการและการดูแลมากนัก วันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับน้องหมาท้อง มาดูกันว่าน้องหมาท้องกี่เดือน? แล้วเราต้องสังเกต และดูแลคุณแม่มือใหม่อย่างไรกันบ้าง
หมาท้องกี่เดือน?
สุนัขตั้งท้องประมาณ 2 เดือนกว่าๆ คิดเป็น 9 สัปดาห์ หรือ ประมาณ 57 – 65 วัน หลังจากเริ่มตั้งท้อง สุนัขทุกสายพันธุ์ใช้เวลาตั้งท้องใกล้เคียงกัน นับจากวันที่เริ่มตัวอ่อนฝั่งตัวลงในมดลูก ช่วงวันที่ 20 – 24 แม่สุนัขจะเริ่มสร้างสายสะดือ ดังนั้นในช่วงก่อนหน้านี้เราจึงไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงใดๆ แม้ว่าสุนัขจะเริ่มตั้งท้องแล้ว
ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของแม่สุนัขจะเริ่มหลังจากที่ร่างกายสร้างสายสะดือเพื่อเชื่อมการให้อาการเลี้ยงดูเจ้าตัวเล็กที่อยู่ในท้อง จนมีร่างกายแข็งแรงในอีก 40 กว่าวันที่เหลือ ให้พร้อมลืมตาขึ้นมาดูโลก
อาการสุนัขหลังผสมพันธุ์
หลังจากผสมพันธุ์ไปแล้ว ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกก่อนตั้งท้องสุนัขจะมีอาการทุกอย่างปกติดี หากดูภายนอกจะไม่รู้ว่าสุนัขตั้งท้องอยู่ แต่สุนัขอาจจะมีหัวนมตั้งขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ สีชัดเจน อาจจะเริ่มมีอาการแพ้ท้อง เบื่ออาหาร กินข้าวน้อยลง ในช่วงนี้ให้ดูแลสุนัขแบบปกติ อาจจะมีเพิ่มโปรตีนในอาหารเพื่อบำรุงครรภ์สุนัขบ้าง แต่ไม่จำเป็นต้องมีอะไรพิเศษ
สุนัขตั้งท้องดูยังไง? วิธีตรวจสอบว่าสุนัขท้องหรือไม่?
1. ตรวจสุขภาพและการตั้งท้องกับสัตวแพทย์
หลังจากผสมพันธุ์และเริ่มตั้งท้องในช่วง 20-25 วันแรก ให้พาสุนัขไปตรวจกับสัตวแพทย์เพื่อหาฮอร์โมน Relaxin เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมในสุนัข การตรวจจะใช้การอัลตร้าซาวด์หรือเอ็กซเรย์ เพื่อยืนยันผลอีกครั้ง
2. มีเมือกใสที่อวัยวะเพศ
หลังจากเริ่มตั้งท้องในช่วง 30 วัน สุนัขตัวเมียจะมีเมือกใสๆ ที่บริเวณช่องคลอดอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการส่งสัญญาณและเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งท้อง และ มีลูกน้อย ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายทำให้เกิดสภาวะนี้
3. น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในช่วงวันที่ 25 – 35 หลังจากเริ่มตั้งท้อง สุนัขจะมีการกินที่เยอะขึ้น เริ่มไม่ค่อยไปไหนมาไหนมากนัก ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นจนสามารถสังเกตได้
4. เต้านมตึงและมีสีชมพูเข้ม
หลังจากตั้งต้องได้ตั้งแต่วันที่ 30 เป็นต้นไป เต้านมของสุนัขจะมีสีชมพูเข้มขึ้น เนื่องจากการที่เลือดไปเลี้ยงในส่วนนั้นมากขึ้น ฐานของเต้านมจะเริ่มขยายในวันที่ 45 เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อยที่กำลังจะเกิดขึ้นมา
พาสุนัขไปฝากครรภ์ จำเป็นต้องฝากท้องสุนัขหรือเปล่า?
เมื่อสงสัยว่าสุนัขตั้งครรภ์ ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจความแข็งแรงของคุณแม่คนใหม่ และควรไปพบสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้คุณแม่แข็งแรงตลอดการตั้งท้อง โดยสัตวแพทย์จะมีการตรวจสุขภาพของสุนัข และมีการให้คำแนะนำดังนี้
ฝากท้องสุนัขตรวจอะไรบ้าง?
ตรวจร่างกายสุนัขตั้งครรภ์
สัตวแพทย์จะมีการตรวจร่างกายของสุนัขเพื่อหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ ซึ่งหากสุนัขมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถคลอดเองได้ คุณหมออาจแนะนำการผ่าคลอด รวมถึงอาจมีการตรวจสุขภาพอื่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นตามมา
ถ่ายพยาธิสุนัขท้อง
สุนัขตั้งครรภ์ควรได้รับการถ่ายพยาธิตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป (ประมาณวันที่ 40 ของการตั้งครรภ์) และถ่ายพยาธิจนถึง 14 วันหลังคลอด เพื่อช่วยลดพยาธิในลูกหมา ช่วยให้พวกเขาได้เติบโตแข็งแรง สมวัย
อัลตร้าซาวด์เพื่อดูลูกในครรภ์
ประมาณสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะมีการอัลตร้าซาวด์เพื่อให้เจ้าของได้เห็นลูกสุนัข โดยการอัลตร้าซาวด์นั้นปลอดภัยกับตัวคุณแม่ เพราะเป็นเพียงการใช้คลื่นเสียงมาจำลองภาพในครรภ์เท่านั้น แต่หากนำสุนัขไปพบแพทย์ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 คุณหมอจะสามารถสัมผัสถึงตัวลูกหมาในท้องได้เลย
คำแนะนำจากสัตวแพทย์
คุณหมอจะมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและการเตรียมตัวก่อนคลอด ซึ่งเจ้าของและผู้ดูแลควรมีความพร้อมสำหรับวันคลอด ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างปุบปับ และอาหารสำหรับสุนัขตั้งครรภ์ ที่จะมีการบำรุงเป็นพิเศษ
ระยะการตั้งครรภ์ของสุนัข
สุนัขจะมีการตั้งครรภ์ประมาณ 57-65 วัน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 63 วัน ซึ่งในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์สุนัขจะมีอาการดังนี้
ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (สัปดาห์ที่ 1-3)
ในช่วงสัปดาห์แรก สุนัขจะมีอาการเพียงเล็กน้อยจนเจ้าของอาจไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง อาจมีน้ำหนักขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยน้องหมาอาจมีอาการคลื่นไส้บ้าง แต่ก็เพียงไม่กี่วันตลอดช่วงสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน น้องหมาจะมีอาการเพลีย ทานข้าวน้อยลง รวมไปถึงอาเจียนออกมา หากเกิดอาการเหล่านี้ ก็เปลี่ยนมาให้อาหารมื้อเล็ก ๆ ตลอดวันแทน
ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ (สัปดาห์ที่ 3-6)
ท้องของสุนัขจะเริ่มใหญ่ขึ้นประมาณวันที่ 40 ของการตั้งครรภ์ โดยหัวนมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและสีคล้ำลง ซึ่งเมื่อเข้าใกล้วันกำหนดคลอด เต้านมก็จะขยายใหญ่ และน้ำนมก็อาจไหลออกมา ในช่วงนี้ควรปรับมาให้อาหารพลังงานสูงกับแม่หมา โดยอาจเลือกจากอาหารสูตรสำหรับสุนัขตั้งครรภ์
ช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (สัปดาห์ที่ 6-9)
คุณหมออาจให้พาสุนัขกลับมาตรวจในช่วงไตรมาสที่ 3 ราว ๆ วันที่ 45 เพื่อที่จะเอกซเรย์ครรภ์ของสุนัข นี่จะช่วยให้สามารถเห็นโครงสร้างกระดูกของลูกหมาในครรภ์ ซึ่งช่วยให้ทราบว่ามีลูกหมาอยู่กี่ตัวในท้องของแม่หมา และดูว่าลูกหมามีขนาดตัวที่ไม่ใหญ่เกินไปจนทำคลอดธรรมชาติไม่ได้ ถ้าในกรณีที่ลูกหมามีขนาดตัวใหญ่เกินไปสัตวแพทย์จะนัดเพื่อทำการผ่าตัดคลอด ซึ่งการเอกซเรย์ก็จะช่วยให้เจ้าของหรือผู้ทำคลอดทราบว่ามีลูกสุนัขกี่ตัว จะได้เตรียมอุปกรณ์ได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้สัตวแพทย์ก็จะมีการแนะนำเจ้าของเกี่ยวกับการทำคลอดสุนัข และให้เบอร์โทรติดต่อในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงวิธีการดูแลลูกสุนัขที่เพิ่งคลอด โดยท้องของสุนัขจะเริ่มโตขึ้นเรื่อย ๆ และอาจเขย่าขณะสุนัขเดิน คุณอาจเห็นและสัมผัสได้ถึงลูกสุนัขที่ดิ้นอยู่ภายในท้อง ในช่วงนี้ควรเพิ่มปริมาณอาหารให้กับแม่หมาประมาณ 1.5 เท่าจากเดิม เน้นเป็นอาหารที่ให้พลังงาน ให้โปรตีน ให้แร่ธาตุที่เหมาะสม แต่ไฟเบอร์ต่ำ
ข้อควรระวังสำหรับสุนัขตั้งท้อง
นอกจากเราต้องรู้ช่วงเวลาต่างๆ ในการตั้งท้องของน้องหมาแล้ว มาดูกันว่า ในช่วงตั้งท้องและท้องแก่ ต้องระวังน้องหมาในด้านอื่นๆ ส่วนไหน อย่างไรกันบ้าง เพื่อให้น้องหมาพร้อมคลอดลูกได้อย่างปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง
อาการป่วย
สุนัขที่มีอาการป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเชื้อปรสิต ไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเจ้าตัวเล็กในท้องได้ การตรวจสุขภาพสุนัข สังเกตอุจจาระ และ อาการทั่วไป จะช่วยป้องกันสุนัขหากเริ่มมีอาการป่วยได้ หากตรวจพบอาการผิดปกติ ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
สารอาหาร
สุนัขตั้งท้อง ต้องการสารอาหารต่างๆ มากกว่าปกติ โดยหลังจากเริ่มสร้างสายสะดือ แม่สุนัขควรได้รับสารอาหารมากกว่าปกติ 15 – 20% เพื่อเพียงพอต่อการเลี้ยงดูลูกๆ ในท้องไปพร้อมกัน การขาดสารอาหารส่งผลทั้งต่อสุขภาพของแม่สุนัขและเกิดความเสี่ยงของการเสียชีวิตของลูกสุนัขในท้องอีกด้วย
ลองเลือกอาหารสุนัขเกรดพรีเมียม JOMO ที่โปรตีนสูงถึง 23% ด้วยโปรตีนหลักจากเนื้อแกะออสเตรเลีย อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย เช่น โอเมก้า 3 และ 6 จากน้ำมันปลาแซลมอน ช่วยบำรุงให้น้องหมาตั้งครรภ์สุขภาพดี สั่งซื้ออาหารสุนัขพรีเมียม JOMO ได้แล้ววันนี้ ส่งฟรีทั่วประเทศไทย
อาหารที่มีแคลเซียมสูง
แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับการผลิตน้ำนม แม่สุนัขหลังคลอดใหม่ๆ ควรได้รับแคลเซียมเพิ่มเติมจากปกติ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดภาวะไข้น้ำนม(Eclampsia) แต่กลับกันในช่วงขณะท้องหากแม่สุนัขได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะคลอดยาก
การออกกำลังกายหนัก
แม่สุนัขท้องแก้ที่ตั้งท้อง 45 วัน ขึ้นไป มีเต้านมและท้องใหญ่ขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำหรือออกกำลังกายหนัก เพราะเสี่ยงต่อการไหลเวียนเลือดและกระทบกระเทือนต่อลูกๆ ในท้อง โดยเฉพาะการอาบน้ำ ควรเปลี่ยนเป็นการเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นแทน
สุนัขติดสัด คืออะไร?
คำว่าสุนัขติดสัด หรือที่หลายคนคุ้นเคยกับคำว่า เป็นฮีท คำนี้ย่อมาจากภาวะ Estrus หรือ In Heat
สุนัขติดสัด คือการที่ สุนัขมีช่วงเวลาเข้าถึงช่วงผสมพันธุ์และพร้อมสำหรับการมีลูก ซึ่งสุนัขตัวเมียมีรายละเอียดของช่วงติดสัดดังนี้
ช่วงอายุที่เริ่มติดสัด
สุนัขตัวเมีย จะเริ่มติดสัดเมื่อมีอายุครบ 6 เดือน ขึ้นไป ทั้งนี้ทั้งนั้นงานวิจัยแนะนำว่าควรให้สุนัขตั้งท้องหลังจากอายุครบ 1 ปีขึ้นไป เพื่อให้ร่างกายเติบโตพร้อมสำหรับการอุ้มท้อง โดยทั่วไปสุนัขตัวเมียจะติดสัด ทุกๆ 6 เดือน
ความแตกต่างของสายพันธุ์สุนัข
สุนัขแต่ละสายพันธุ์จะมีการติดสัด ถี่บ่อย แตกต่างกันออกไป โดยสุนัขพันธุ์ใหญ่จะติดสัดประมาณ 2 ครั้งต่อปี ในขณะที่สุนัขพันธุ์เล็กจะมีการติดสัดถี่กว่าอาจจะปีละ 2-3 ครั้ง ขึ้นไป นอกจากนี้ สุนัขพันธุ์เล็กยังเริ่มติดสัดได้ไวกว่าอีกด้วย
ลักษณะอาการเมื่อติดสัด
เมื่อติดสัดอวัยวะเพศของสุนัขจะบวม แดง ขยายใหญ่ขึ้น และมีเลือด หรือ เมือกซึมออกตลอดเวลา ในช่วงนี้ สุนัขเพศเมียจะปล่อย ฟีโรโมน (Dog appeasing pheromone หรือ DAP) เพื่อดึงดูดสุนัขเพศผู้ให้เข้ามาผสมพันธุ์กับตนเอง
ช่วงระยะเวลาที่ติดสัด
หลังจากเริ่มเป็นสัดแล้ว สุนัขจะมีอาการติดสัดยาวนาน 7 – 11 วัน ขึ้นกับวัยและสายพันธุ์ ระหว่างนี้ สุนัขตัวเมียจะพร้อมผสมพันธุ์กับสุนัขตัวผู้ อาจจะมากกว่า 1 ตัวขึ้นไปด้วย โดยจะมีการเดินรอบๆ เพื่อปล่อยฟีโรโมนให้ตัวผู้เข้ามาผสมพันธุ์ ตลอดช่วงเวลาที่ติดสัด
การผสมพันธุ์
สุนัขมีการผสมพันธุ์ต่อครั้งประมาณ 15-20 นาที โดยเป็นการแนบอวัยวะเพศของตัวผู้และตัวเมียติดกัน ระหว่างนี้ต้องระวังไม่ให้มีการกระทบหรือรบกวน การแยกกันก่อนจะผสมพันธุ์เสร็จอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของสุนัขทั้ง 2 ตัวได้
สรุปช่วงเวลาที่สุนัขตั้งท้อง
สุนัขจะเริ่มตั้งท้องหลังจากผสมพันธุ์ เป็นช่วงเวลาประมาณ 9 สัปดาห์ หรือ 60 – 65 วัน ในช่วง 3 – 4 สัปดาห์แรกจะยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกายนัก แม่สุนัขจะเริ่มเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและอุปนิสัยหลังจากสัปดาห์ที่ 5 ที่ร่างกายมีการสร้างสายสะดือเพื่อเลี้ยงดูลูกๆ ที่น่ารัก ระหว่างนี้สุนัขอาจมีการแพ้ท้องหรือเบื่ออาหารอยู่บ้าง เพื่อให้สุนัขสามารถอิ่มอร่อยกับอาหารแต่ละมื้อได้อย่างเต็มที่ให้ อาหารสุนัขเกรดพรีเมี่ยมของโจโม่ เป็นเมนูหลัก เพราะมีโปรตีนสูงถึง 23% จากเนื้อแกะออสเตรเลีย ช่วยให้สุนัขได้รับสารอาหารเพียงพอ เพราะมีส่วนผสมโอลิโกแซคคาร์ไรด์ช่วยพัฒนาสมองและการทำงานของระบบประสาท สั่งซื้ออาหารสุนัขพรีเมียม JOMO ให้น้องหมาตั้งครรภ์ของคุณวันนี้ ส่งฟรีทั่วประเทศไทย
สุนัขท้องกี่เดือน?
โดยทั่วไปแล้ว น้องหมาจะตั้งท้องประมาณ 2 เดือนกว่าๆ หรือ 57-65 วัน โดยสุนัขทุกสายพันธุ์มีระยะเวลาตั้งท้องใกล้เคียงกันหรือเปล่า?
สุนัขท้องเทียมได้หรือไม่? และจะรู้ได้อย่างไร?
มีอาการคล้ายคลึงการท้องเรียกว่า ท้องเทียม (psudopregnancy in dogs) เกิดขึ้นหลังผ่านช่วงเป็นสัดของสสุนัขตัวเมีย สุนัขจะมีอาการคล้ายการท้อง กินมากขึ้น เซื่องซึม แต่ไม่เป็นอันตราย สามารถตรวจสอบการท้องเทียมได้จากการเจาะเลือด เพราะการท้องเทียมจะไม่มีฮอร์โมนรีแลกซิน ซึ่งพบเฉพาะสุนัขที่ตั้งท้องเท่านั้น
สุนัข เป็นสัด เป็นฮีท ได้บ่อยแค่ไหน?
โดยทั่วไปการติดสัด หรือ เป็นฮีท เกิดขึ้นทุกๆ 6 เดือน แต่สุนัขสามารถติดสัดได้ปีละ 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยสุนัขพันธุ์เล็กจะมีโอกาสติดสัดได้บ่อยกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่
สุนัขผสมพันธุ์ได้บ่อยแค่ไหนตลอดช่วงติดสัด?
ในช่วงติดสัดของสุนัขตัวเมีย จะกินระยะเวลาประมาณ 7 – 11 วัน ในระหว่างนี้ สุนัขตัวเมียสามารถผสมพันธุ์กับสุนัขตัวผู้ได้หลายตัว ฉะนั้นใครที่ต้องการรักษาจุดเด่นหรือสายพันธุ์แท้ อาจต้องระวังเรื่องการผสมข้ามพันธุ์ในช่วงนี้ไว้ด้วย